BLOG

    Home Blog หมอรอบ 1 ตอบโจทย์ Disruption! จุฬาฯ เปิดหลักสูตรบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา ป.ตรี แพทย์ – ป.โท วิศวกรรมชีวเวช เรียนจบใน 6 ปี

ตอบโจทย์ Disruption! จุฬาฯ เปิดหลักสูตรบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา ป.ตรี แพทย์ – ป.โท วิศวกรรมชีวเวช เรียนจบใน 6 ปี

ตอบโจทย์ Disruption! จุฬาฯ เปิดหลักสูตรบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา ป.ตรี แพทย์ – ป.โท วิศวกรรมชีวเวช เรียนจบใน 6 ปี

ตอบโจทย์ Disruption ที่ตอนนี้ระบบการศึกษาไทยต้องเร่งปรับตัว โดยเฉพาะการปรับหลักสูตรให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ทันสมัย และเหมาะสมกับสถานการณ์ของโลก ซึ่งยังคงคุณภาพการเรียนการสอนได้อย่างครบถ้วน ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศความพร้อมในเรื่องนี้ด้วยการปรับหลักสูตรแพทยศาสตร์ ให้ตอบโจทย์ทุกการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคมกับโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา ภายในเวลา 6 ปี ป.ตรี แพทย์ – ป.โท วิศวกรรมชีวเวช โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ พร้อมด้วย ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกันแถลงข่าว ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา

โครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญา

กล่าวถึงวิสัยทัศน์และรายละเอียดการเปิดโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญานี้ ว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรม และสร้างมาตรฐานระดับนานาชาติ โดยนับตั้งแต่ปี 2560 ทางสถาบันได้มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอน โดยมุ่งเพิ่มช่วงเวลาที่นิสิตสามารถเลือกเรียนวิชาเลือกวิชาที่ตนเองสนใจได้มากขึ้น เพื่อให้นิสิตค้นพบตัวเอง รวมถึงเสริมสร้างความถนัดในด้านที่ตนเองต้องการ เช่น ด้านวิจัย ด้านบริหาร และในปี 2563 นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลง และการเริ่มต้นครั้งใหม่ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดโครงการหลักสูตรควบข้ามระดับข้ามศาสตร์ (ป.ตรี ควบ ป.โท) หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช จุดเด่น คือ บัณฑิตที่จบการศึกษาจะได้รับ 2 ปริญญา คือปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต และ ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวชโดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาเพียง 6 ปี (เวลาเท่ากับนิสิตที่เรียนวิชาเฉพาะแพทยศาสตร์เพียงอย่างเดียว!!) เป็นหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทั้งสาขาแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมชีวเวช ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเหมาะกับนิสิตแพทย์ที่มีศักยภาพ และความสนใจด้านวิศวกรรมชีวเวช ต้องการเป็นแพทย์นักวิชาการ นักวิจัยชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญทั้งสาขาแพทยศาสตร์และวิศวกรรมชีวเวช ที่สร้างสรรค์ผลงานวิชาการ องค์ความรู้ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์

นิสิตในโครงการนี้ จะเรียนรายวิชาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) เช่นเดียวกับนิสิตแพทย์คนอื่น โดยนิสิตสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไป วิชาเฉพาะ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน และ/หรือเลือกเสรีในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้การรับรองได้ตามความสนใจเพื่อเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาโท และเมื่อเรียนรายวิชาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตครบ 120 หน่วยกิต และมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด จะมีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิศวกรรมชีวเวช ที่ใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 2 ปีได้ จากนั้นนิสิตที่ได้รับการคัดเลือก จะเรียนรายวิชาชั้นปีที่ 4-6 ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตร่วมกับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตคนอื่นควบคู่ไปกับการสัมมนา และการทำวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ในช่วงเวลาวิชาเฉพาะเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน หรือช่วงนอกเวลา

สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการเรียนจะจัดเก็บค่าเล่าเรียนทั้งสองหลักสูตรในอัตราตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องอัตราการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน และเงินเรียกเก็บประเภทอื่นๆ สำหรับนิสิต

ในส่วนของแผนการรับนิสิตโครงการฯ จะคัดเลือก และให้ทุนแก่นิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช 10 คน ต่อปีการศึกษา

ในส่วนของการรับสมัครนิสิตเข้าสู่โครงการ สำหรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตปัจจุบันชั้นปีที่ 1 และ 2 คาดว่าจะสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ในปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป และในส่วนของผู้ที่สนใจเข้าศึกษาในโครงการที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถสมัครสอบคัดเลือกได้ตามระบบ TCAS รอบที่ 1-3 โดยสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันเริ่มสมัครผ่านระบบ TCAS63 รอบ 3 (รับตรงร่วมกัน – ใช้เกณฑ์ กสพท.)  ในวันที่ 17-27 เมษายน 2563 โดยรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายวิชาการคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 02-256-4478 หรืออีเมล aamdcu@gmail.com ทั้งนี้ คณะฯ ไม่ได้มีการเปิดรหัสสาขาเพิ่ม แต่ให้เลือกเหมือนเลือกเรียนคณะแพทยฯ จุฬาฯ แล้วค่อยสมัครคัดเลือกเข้าหลักสูตรนี้ตอนที่ได้ทดลองเรียนวิชาต่างๆ ของสาขาวิศวกรรมชีวเวชก่อนนั่นเอง

ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

ทางด้าน ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักสูตรสหสาขาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2549 โดยริเริ่มขึ้นจากความร่วมมือหลักระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวชคือ ความร่วมมือที่เข้มแข็งของทั้งสองคณะที่ร่วมกันพัฒนาโจทย์วิจัยที่ท้าทาย และตอบโจทย์หรือแก้ไขปัญหาที่พบอยู่จริงในการแพทย์ในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนในหลักสูตรฯ จะมีอาจารย์ที่ปรึกษา 2 ท่าน ท่านหนึ่งจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และอีกท่านหนึ่งจากคณะแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี และเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของเทคโนโลยีการแพทย์

นอกจากนี้ หลักสูตรยังได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์สายสุขภาพอื่นๆ อีกด้วย อาทิ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และ คณะสหเวชศาสตร์ เป็นต้น

ภาพบรรยากาศ จุฬา เปิดตัวโครงการผลิตแพทย์ 2 ปริญญา ภายใน 6 ปี

หลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช ประกอบไปด้วย 6 สาขาวิจัย ได้แก่ สาขา Medical instruments and biosensors, สาขา Biomechanics, สาขา Rehabilitation, สาขา Medical Imaging, สาขา Tissue engineering and Drug delivery system และสาขา Bioinformatics ซึ่งทั้ง 6 สาขาวิจัยนี้ ครอบคลุมเทคโนโลยีการแพทย์ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย วิเคราะห์โรค การรักษาโรค การฟื้นฟูผู้ป่วย รวมถึงการป้องกันการเกิดโรค จะเห็นได้ว่า ทุกศาสตร์ทุกสาขาของแพทย์ ล้วนใช้ศาสตร์วิศวกรรมชีวเวชเข้าไปช่วยพัฒนาได้ทั้งสิ้น ที่ผ่านมาหลักสูตรเราได้สร้างสรรค์ research innovations จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น medical device, sensor ตรวจวัดค่าต่างๆ ที่บ่งชี้การเกิดโรคของร่างกาย ระบบนำส่งยารักษาโรค และอวัยวะเทียม อวัยวะสังเคราะห์ต่างๆ ตัวอย่างผลงานที่เป็น Lab prototypes หรือเป็น certified products ที่เป็นผลงานของหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช ร่วมกับภาควิชาต่างๆ ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ โครงเนื้อเยื่อสำหรับการสร้างหลอดเลือด และการสร้างกระดูก, micro needle ที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยยาได้, ไม้เท้าที่มีสัญญาณเสียง แสงและการสั่นเพื่อกระตุ้นการเดินของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และเท้าเทียม ข้อสะโพกเทียมที่มีการออกแบบเหมาะสมสำหรับสรีระผู้ป่วยคนไทย และคนเอเชีย เป็นต้น

ศ.ดร.สุพจน์ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมามีแพทย์เฉพาะทางเข้ามาเรียนต่อปริญญาโท/เอก ที่หลักสูตรเราอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่จบการศึกษาไปแล้ว และที่กำลังศึกษาอยู่ กว่า 20 ท่าน ซึ่งแต่ละท่านมีโอกาสทำงานวิจัยที่แก้ไขโจทย์ปัญหาที่พบจริงในโรงพยาบาล สำหรับโครงการผลิตบัณฑิตแพทย์ 2 ปริญญานี้ เปิดโอกาสให้นิสิตแพทย์ระดับปริญญาตรี ที่มีความสนใจด้านวิศวกรรมชีวเวช สร้างสรรค์ผลงานวิชาการองค์ความรู้วิจัยและนวัตกรรม

สำหรับการปรับหลักสูตรของจุฬาฯ ครั้งนี้ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มองว่า สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption โดยใช้ความรู้ทางการแพทย์ และศาสตร์อื่น ๆ เข้ามาช่วย อาทิ AI ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค ซึ่งหลักสูตรดังกล่าว จะทำให้แพทย์สามารถผสมผสานองค์ความรู้ทางวิศวกรรมชีวเวช เพื่อนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา การฟื้นฟูในอนาคต อย่างไรก็ตาม ระบบมหาวิทยาลัยจะถูก Disrup องค์ความรู้ต่างๆ เริ่มลึกลงเรื่อยๆ แต่ความต้องการของอุตสาหกรรม ต้องการคนที่มีความรู้รอบด้านและเรียนรู้ด้วยตัวเองมากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงเร็วมาก วันนี้การพัฒนาคนที่ออกไปสู่อุตสาหกรรมที่มีความรู้เชิงลึกมาก ๆ เริ่มมีความต้องการน้อยลง แต่ยังมีความสำคัญอยู่ ดังนั้น การเรียนข้ามศาสตร์มีความสำคัญมาก หลักสูตรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยจะต้องลดกำแพงพวกนี้ลง วันนี้เห็นแล้วว่าแพทย์กับวิศวะ เข้ามามีบทความทางการแพทย์เยอะมาก เพียงแต่เราอาจจะมองไม่เห็น หรือแพทย์ที่มีความรู้ทางวิศวะ จะสามารถพัฒนาการประกอบวิชาชีพของเขาให้ลงไปในเชิงลึกให้มากขึ้นและได้มีประสิทธิภาพในการองค์ความรู้อีกด้วย

________________________________________
InterPass ที่ 1 ด้านอินเตอร์ ✈️
สอบถามคอร์สเรียน Inbox : m.me/interpassinstitute
Line : @InterPass
Tel : 089-9964256, 089-9923965

5 Tips and Tricks รู้ไว้ก่อนสอบ SAT Math 2021 By ครูพี่โจ เรียนหมอ

Date : May 7, 2020

You May Like