สวัสดีค่ะทุกคน พี่เชื่อว่าถ้าน้องๆ ได้อ่านบทความนี้ แสดงว่าเราก็คงมีความฝันอยากจะเป็นหมอกันแน่นอนค่ะ และหลายๆ คนก็อยากจะเปิดโอกาสของตัวเองให้กว้างๆ โดยการสมัครสอบหมอรอบ 1 หรือที่เรียกว่ารอบ portfolio นอกเหนือจากการยื่นคะแนน กสพท. นั่นเองค่ะ
สำหรับคนที่เคยเริ่มศึกษาด้วยตัวเองก็จะพบว่า ข้อสอบที่เราต้องใช้ในการยื่นหมอรอบ 1 ก็คือ BMAT และ IELTS นั่นเองค่ะ วันนี้เราจะมาพูดถึงข้อสอบ BMAT section 1 ก็คือส่วนที่พี่สอนค่ะ ส่วนนี้มีชื่อว่า Aptitude and Skills หลักๆก็จะเป็นข้อสอบที่วัดเชาว์ปัญญาและความสามารถในการคำนวณ และการอ่านอย่างมีเหตุผลของน้องๆ ค่ะ ข้อสอบจะมีด้วยกันทั้งหมด 32 ข้อ แบ่งออกเป็น Understanding Argument และ Problem Solving อย่างละครึ่ง โดยมีเวลาให้ 60 นาที หรือตกแล้วประมาณข้อละ 2 นาที
หลายๆ คนคงคิดว่า 2 นาทีต่อข้อ เหมือนจะน้อยใช่มั้ยคะ เพราะข้อสอบวัดการคำนวณและตรรกะด้วยแต่น้องๆ ไม่ต้องกังวลไปนะคะ 2 นาทีนี่เราคิดเฉลี่ยต่อข้อนะคะ น้องสามารถบริหารเวลาได้เอง คือ บางข้อที่ง่ายน้องก็ใช้เวลาน้อยกว่า 2 นาที และเอาเวลาที่เหลือมาใช้ในข้อที่ยากขึ้นนั่นเอง และสิ่งที่พี่อยากจะบอกน้องๆทุกคนคือ ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จในการสอบเข้าหมอรอบ 1 เราไม่จำเป็นต้องทำ 32 ข้อ ครบหมด เราก็เข้าหมอจุฬา หรือรามาได้แล้วค่ะ สรุปคือ เราสามารถเลือกข้อทำได้ค่ะ ใช้เวลาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด “ทำน้อย ใช้เวลามากหน่อย แต่เน้นทำถูกค่ะ”
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจส่วนประกอบของข้อสอบก่อนว่า Understanding Argument กับ Problem Solving ต่างกันยังไงนะคะ
Understanding Argument
ข้อสอบส่วนนี้จะเป็นการวัดตรรกะในการอ่านและความคิดของเราค่ะ พี่ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น “คนอ้วนมักเป็นเบาหวาน อิริคเป็นคนอ้วน ดังนั้นอิริคเป็นเบาหวาน“
น้องๆ คิดว่าข้อความที่ทำตัวเน้นถูกต้องเสมอหรือเปล่าคะ? คำตอบก็คือ ไม่เสมอไปค่ะ เพราะโจทย์กำหนดมาว่าคนอ้วนมักเป็นเบาหวาน อาจจะ 70% ที่เป็น แต่อิริคอาจจะอยู่ในกลุ่ม 30% ที่เหลือก็ได้ค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอเข้าใจหลักการใช่มั๊ยคะ พี่สมมติให้ดูสั้นๆ ง่ายๆ แต่ในความเป็นจริงโจทย์จะยาว และยากกว่านี้เยอะเลย และคำถามก็แบ่งเป็นหลายประเภทด้วย เช่น โจทย์อาจจะให้ข้อมูลมาประมาณ 1 ย่อหน้าแล้วถามว่าชอยส์ใดต่อไปนี้ที่ถ้าเพิ่มเติมเข้าไปจะทำให้ข้อมูลน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น (strengthen) หรือ น่าเชื่อถือน้อยลง (weaken) หรืออาจจะถามในแบบอื่นๆ เช่น ถามหา flaw, conclusion, assumption, principle, parallel argument ปนๆ กันไปค่ะ
เรามาลองทำข้อสอบง่ายๆกันสักข้อหนึ่ง เพื่อจะได้เข้าใจเพิ่มขึ้นค่ะ โดยใช้หลักการ 3 As ของพี่ในการช่วยลดเวลาในการทำข้อสอบกันค่ะ
- Some of the great sea-mammals, such as the sperm whale, have brains many times larger than ours. It is a fact of evolution that organs do not grow or remain large unless they are used; if they are not used, they shrink or even disappear. It must be concluded therefore that the sperm whale makes intelligent use of the vast brain it possesses, perhaps at thought levels well beyond our understanding.
Which of the following would, if true, weaken the argument?
- Humans have developed intelligence despite having smaller brains than whales.
- Whales lack the ability to communicate in language.
- Large brains may have uses that do not involve intelligence.
- There is no correlation between the size of the animal and the size of its brain.
- Whale intelligence may be of a kind that humans do not recognise.
หลักการ 3 As ในการทำโจทย์ Understanding Argument
- 1. Asking – หาว่าโจทย์ถามอะไร
วิธีการทำโจทย์ข้อนี้ ก่อนอื่นเราต้องดูก่อนค่ะว่าโจทย์เป็นประเภทอะไร จากที่เห็นคือประเภท weaken ซึ่งแปลว่าโจทย์กำลังถามว่าตัวเลือกข้อใดที่ทำให้เนื้อหาที่โจทย์ให้มาน่าเชื่อถือน้อยลงนั่นเองค่ะ
- 2. Analysing – วิเคราะห์โจทย์
ขั้นตอนต่อมา คือการตีความ วิเคราะห์เพื่อหาสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เหตุผลหรือข้ออ้างหลัก (Premises) และข้อสรุป (Conclusion) นะคะเพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว น้องๆ เห็นโจทย์ยาวๆ ก็เกิดความท้อใจแล้วค่ะ ดังนั้นเราจึงต้องสกัดเอาส่วนที่สำคัญจริงๆ ของโจทย์มาคิดเท่านั้น อย่างข้อนี้พี่ก็ highlight ไว้ให้แล้วค่ะ สรุปใจความก็คือ
“Sperm whales have brains larger than humans. If brains are not used, it will shrink. So, sperm whales are smart, or even smarter than we think.”
หรือแปลเป็นไทยก็คือ
“วาฬหัวทุยมีสมองใหญ่กว่าคน ถ้าสมองไม่ได้ใช้มันก็จะเล็กลง ดังนั้นสรุปได้ว่าวาฬหัวทุยฉลาดกว่ามนุษย์เข้าใจ”
พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็ต้องลองบวกคำถามเข้ามาค่ะ
“วาฬหัวทุยมีสมองใหญ่กว่าคน ถ้าสมองไม่ได้ใช้มันก็จะเล็กลง ดังนั้นสรุปได้ว่าวาฬหัวทุยฉลาดกว่ามนุษย์เข้าใจ แต่วาฬหัวทุยอาจจะไม่ฉลาดกว่าคนเข้าใจก็ได้ถ้า…”
มาถึงตรงนี้เทคนิคอย่างหนึ่งของพี่ก็คือลองคิดเล่นๆ โดยยังไม่มองตัวเลือกที่ให้มาว่าถ้าเราจะเติมคำใน … เราจะใส่คำว่าอะไรดี น้องๆลองนึกดูก่อนที่จะไปอ่านเฉลยด้านล่างก็ได้ค่ะ
- 3. Answering – เลือกตอบโดยใช้การตัด choice จากนั้นดูตัวเลือกที่ให้มาค่ะ โดย
A. Humans have developed intelligence despite having smaller brains than whales.
- ข้อ A ผิดเพราะเราต้องหา argument ที่มาโต้แย้งว่าจริงๆ แล้ววาฬไม่ได้ฉลาดกว่าที่คนคิด ข้อนี้ไปเน้นที่สมองคนนะคะ และเป็นการบอกว่าวาฬก็ยังฉลาดเหมือนเดิม
B. Whales lack the ability to communicate in language.
- ข้อนี้เหมือนจะได้นะคะ เพราะบอกว่าวาฬไม่มีความสามารถในการสื่อสารทางภาษา แต่ว่าไม่เกี่ยวกันนะคะ เราไม่ได้กล่าวถึงความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นข้อนี้ too narrow
C. Large brains may have uses that do not involve intelligence.
- สมองใหญ่อาจจะใช้งานอย่างอื่นได้ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความฉลาด
D. There is no correlation between the size of the animal and the size of its brain.
- ขนาดของสัตว์และขนาดของสมองไม่มีความสัมพันธ์กัน
E. Whale intelligence may be of a kind that humans do not recognise.
- ข้อนี้บอกว่าความฉลาดของวาฬอาจเป็นประเภทที่คนไม่ตระหนัก ตัดเลยเพราะก็ยังบอกว่าวาฬฉลาดอยู่ดี ตรงข้ามกับสิ่งที่เราต้องการหา (วาฬหัวทุยอาจจะไม่ฉลาดกว่าที่คนเข้าใจก็ได้ถ้า…)
เป็นไงคะ ตอบข้ออะไรกันเอ่ย พี่เหลือให้สองข้อคือ C กับ D
เราลองเอาข้อ C กับ D มาเติมคำใน … กันดีกว่าค่ะ ว่าอะไรอ่านรู้เรื่องที่สุด
C. วาฬหัวทุยอาจจะไม่ฉลาดกว่าคนเข้าใจก็ได้ถ้า…สมองใหญ่อาจจะใช้งานอย่างอื่นได้ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความฉลาด
D. วาฬหัวทุยอาจจะไม่ฉลาดกว่าคนเข้าใจก็ได้ถ้า…ขนาดของสัตว์และขนาดของสมองไม่มีความสัมพันธ์กัน
แค่นี้ก็พอจะทราบแล้วใช่มั้ยคะว่าตอบอะไร คำตอบข้อ C เป็นคำตอบที่ถูกต้องค่ะ น้องๆ จะเห็นว่าถ้าเรามีขั้นตอนและเทคนิคที่ดีในการทำข้อสอบประเภทนี้ เราก็จะสามารถทำได้ทันเวลาแน่นอนค่ะ
สำหรับน้องๆ ที่ลองทำข้อสอบไปพร้อมๆ กับพี่แล้วคิดว่าข้อสอบแบบนี้เหมาะกับเรา หรือรู้สึกว่าไม่ได้ยากเกินไป แสดงว่าน้องๆ ควรไปลองสอบ BMAT ดูนะคะ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับตัวเองในการสอบรอบหมอ รอบ 1 ที่นอกเหนือจาก กสพท ค่ะ ส่วนใครที่คิดว่าอยากเพิ่มความมั่นใจในโจทย์ประเภทต่างๆ ทั้ง Understanding Argument และ Problem Solving หรือ section อื่นๆ ในข้อสอบ BMAT ก็สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียน BMAT ของ InterPass ได้เลยโดย Click ที่นี่ ค่ะ
วันนี้ต้องลาน้องๆ ไปก่อน พบกันใหม่กับบทความดีๆ เช่นนี้จาก Interpass เสมอค่ะ บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอบ BMAT ที่นี่
ใครอยากจะปรึกษาหรือวางแผนการเรียนเพิ่มเติม สามารถติดต่อขอรับการปรึกษาสามารถเข้ามาสอบถามหรือวางแผนการเรียนไปพร้อมกับพี่ๆ InterPass ได้ฟรี! ทั้ง 3 ช่องทางทั้งที่ InterPass สาขาสยามสแควร์ซอย 10 และสาขาวรรณสรณ์ชั้น 9 หรือจะ Line : @InterPass, Tel : 089-9964256, 089-9923965 สมัครได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด 09:00 – 19:00 น.ได้เลยค่ะ
________________________________________
InterPass ที่ 1 ด้านอินเตอร์ ✈️
สอบถามคอร์สเรียน Inbox: m.me/interpassinstitute
Line: @InterPass
Tel: 089-9964256, 089-9923965