BLOG

    Home Blog Latest ไขความต่างหลักสูตรนานาชาติ A-Level / IB / AP ที่ต้องรู้!

ไขความต่างหลักสูตรนานาชาติ A-Level / IB / AP ที่ต้องรู้!

ไขความต่างหลักสูตรนานาชาติ A-Level / IB / AP ที่ต้องรู้!

สวัสดีน้องๆ และผู้ปกครองทุกคน วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ สำหรับคนที่ต้องการเรียนโรงเรียนหลักสูตรนานาชาติทั้งระบบ
A-Level, IB และ AP ว่าทั้ง 3 ระบบนั้น มีข้อแตกต่างกันอย่างไร และแต่ละหลักสูตรเหมาะกับตัวเองหรือไม่ ถ้าพร้อมแล้ว ไปลองอ่านกันเลยค่า

ความแตกต่างของระบบการเรียนหลักสูตรนานาชาติ

1. ระบบอังกฤษ หลักสูตร A-Level

หลักสูตร A-Level ชื่อเต็มว่า The General Certificate of Education Advanced Level Certificate – GCE A Level เป็นการศึกษาในระดับมัธยมปลาย (Year 12 – 13) ขั้นต่อมาจากการเรียน IGCSE (Year 10 – 11) โดยรวมของหลักสูตรจะเรียนทั้งหมด 2 ปี น้องๆต้องเลือกเรียน 3 – 4 วิชา ซึ่งบอกได้เลยว่าเข้มข้นและลึกมากพอควรโดยมีการเทียบเท่าเนื้อหาของปี 1 และ  2 ของมหาลัยในไทยเลย ส่วนใหญ่จะเลือกเรียนหลักสูตรสาขาวิชาที่จะใช้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเราจะแบ่งการเรียน A-Level ในเข้าใจง่ายๆจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

  • AS Examination (Advanced Subsidiary) โดยทั่วไปคือการเรียนในช่วง Year 12 เกรดที่จะได้ ได้แก่ a,b,c,d,e โดยน้องๆ จะต้องเลือกเรียน 4 วิชา เกรดที่ได้ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด แต่การสอบผ่านเพียงระดับ AS Level จะถือว่าจบแค่เพียงครึ่งเดียว หรือครึ่งเครดิตของหลักสูตร A Level เท่านั้น
  • A2 Examination โดยทั่วไปคือการเรียนในช่วง Year 13 ซึ่งเกรดที่จะได้นั้นมากสุดคือ A*, แล้วไล่มาที่ A, B, C, D, E ตามลำดับ โดยนักเรียนจะเลือกเรียนทั้งหมด 3-4 วิชา

สำหรับตัวเนื้อหาของ AS และ A2 จะมีความต่อเนื่องกัน เช่นถ้ามีการเรียนวิชาใดวิชานึงในพาร์ทของ AS เทียบเป็นบทที่ 1-2 พอน้องๆมาเรียนใน A2 นั้นน้องๆสามารถต่อไปบทที่ 3-4 ได้เลย ซึ่งสำหรับจุดประสงค์สำคัญในการเรียน A-Level  คืออยากให้น้องๆสามารถค้นหาตัวเองได้แล้วเลือกเรียนในวิชาที่เหมาะสมกับการยื่นเข้าคณะต่างๆ เพราะการเลือกวิชาเรียนจะส่งผลถึงอนาคตในการเข้าคณะและมหาวิทยาลัยที่น้องเลือก

2. หลักสูตร IB

หลักสูตร IB หรือ International Baccalaureate Programme เป็นการนำหลักสูตร 3 ระดับ จัดทำโดย International Baccalaureate Organization (IBO) ที่มีการใช้แพร่หลายมากกว่า 156 ประเทศ ซึ่งจุดประสงค์ก็คือทำให้ระบบการศึกษาได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก เนื่องจากถ้ามีนักเรียนที่ต้องย้ายสถาบันไปอีกที่นึงของประเทศอื่นจะต้องมีหลักสูตรที่รองรับเด็กๆได้ดังนั้นหลักสูตรจึงมีเนื้อหาที่หลากหลายมากกว่าโรงเรียนทั่วไป IB Programme แบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 ระดับ

  • Primary Years Programme หรือPYP (3-12 ปี)
  • Middle Years Programme หรือ MYP (11-16 ปี)
  • Diploma Programme หรือ IBDP (16-19 ปี) จะเป็นหลักสูตรที่เป็นช่วงต่อมหาลัย ซึ่งนักเรียนจะค่อนข้างให้ความสนใจไปศึกษาต่อในต่างประเทศ จะมี 6 กลุ่มวิชาดังนี้ ภาษาและวรรณกรรม, ทักษะการใช้ภาษา, ปัจเจกและสังคม, วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ศิลปะ

ในประเทศไทยมีอยู่ 5 โรงเรียนที่ใช้ระบบIBทั้งสามระดับได้แก่ Concordian International School, KIS International School, NIST International School, Prem Tinsulanonda International School, UWC Thailand International School แต่มีโรงเรียนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ระบบการศึกษาอื่นในช่วงประถม – มัธยมศึกษาตอนต้น จากนั้นเลือกเรียน IB Diploma ในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในกรุงเทพนั้น โรงเรียนที่สอน ระบบ IB Full ตั้งแต่ปฐมวัยถึงมัธยม มีเพียง NIST, KIS, Concordian เท่านั้น

3. หลักสูตร AP

หลักสูตร AP หรือ Advanced Placement Program เป็นโครงการเรียนล่วงหน้าที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมัธยมปลายสามารถทำการทดสอบหรือทำความเตรียมพร้อมก่อนเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งในส่วนของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกันจะเน้นการเรียนรู้ตั้งแต่ช่วงประถมควบคู่กับกิจกรรม เพื่อให้เด็กรับรู้ความต้องการของตนเอง

AP มีข้อสอบให้เลือกมากกว่า 30 วิชา โดยจะแบ่งการประเมินผลการสอบออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 5 Extremely well qualified, 4 Well-qualified, 3 Qualified, 2 Possibly qualified, 1 No recommendation

จุดเด่นสำหรับการเรียนหลักสูตร AP

  • ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กที่เรียนในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบ AP มาก่อนเท่านั้น แปลว่าน้องๆ สามารถหาหนังสือมาอ่านเองที่บ้านเพื่อเตรียมสอบได้เอง และ ผู้ที่สามารถสอบผ่านหลักสูตร AP และได้คะแนนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก็จะได้รับการพิจารณาให้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
  • หลักสูตร AP เปรียบเสมือน “ทางลัด” ของนักเรียนมัธยมปลายที่จะต่อมหาวิทยาลัยนั่นเอง ยิ่งถ้าเราสอบผ่านได้หลายวิชาตามที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน น้องๆก็จะได้เก็บสะสมหน่วยกิตได้เร็วขึ้น โอกาสที่น้องๆจะเรียนจบเร็วกว่าเพื่อนก็มีมากขึ้นนั่นเอง

สรุปแล้วแต่ละหลักสูตรมีทั้งข้อดีและข้อแตกต่างกันอย่างพอสมควร การที่น้องๆหรือผู้ปกครองจะเลือกเรียนในหลักสูตรไหน ทั้งนี้พี่แอดคิดว่าขึ้นอยู่กับความต้องการเข้ามหาลัยของในแต่ละที่หรือแต่ละประเทศเป็นหลัก น้องๆสามารถพูดคุยกับพี่ๆ​  InterPass ในการเตรียมตัววางแผนก่อนสอบเข้า หรือถ้ามีข้อสงสัยหรืออยากปรึกษาเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามข้อมูลมาได้เลยนะคะที่ Line : @InterPass หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ Tel : 089-9964256, 089-9923965 ครับสามารถติดต่อสมัครได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด 09:00 – 19:00 น. ค่า

คลิกที่นี่ ดูรายละเอียดคอร์สที่เปิดสอนทั้งหมดของ InterPass

________________________________________
InterPass ที่ 1 ด้านอินเตอร์ ✈️
สอบถามคอร์สเรียน Inbox: m.me/interpassinstitute
Line: @InterPass
Tel: 089-9964256, 089-9923965

8 เทคนิคฝึกภาษาอังกฤษจากหนังยังไงให้เป๊ะ พร้อมแนะนำหนังเรื่องเด็ด ก่อนติว TBAT ต้องรู้! เทียบความแตกต่าง BMAT vs UCAT vs TBAT ที่ Interpass

Date : Sep 22, 2021

You May Like