สวัสดีน้องๆ ชาว InterPass เปิดเรื่องมาแบบนี้ คงจะรู้อยู่แล้วว่าวันนี้พี่ๆ จะมาแชร์คำถามจากน้องๆ ที่จำเป็นต้องรู้ก่อนสอบ BMAT บอกเลยว่าเลือกแต่คำถามยอดฮิต จะได้มีความมั่นใจในการเตรียมตัวมากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
BMAT คืออะไร?!
แน่นอนว่าคำถามยอดฮิตตลอดการที่ต้องรู้ก่อนเลยนั่นคือ BMAT คืออะไร?! Biomedical Admission Test หรือที่เรียกสั้นๆว่า BMAT คือ การสอบเฉพาะทาง สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในสาขาการแพทย์และสัตวแพทย์ ซึ่งจัดทำโดย Cambridge Assessment โดยเมื่อปีการศึกษา 2560 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดรับนักศึกษาแพทย์โดยการยื่นคะแนน BMAT เป็นปีแรก และในปีต่อๆ มาคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ได้เปิดรับนักศึกษาแพทย์โดยใช้คะแนน BMAT มากขึ้น ได้แก่ แพทย์จุฬาฯ, แพทย์รามาฯ, แพทย์ขอนแก่น, แพทย์เชียงใหม่, แพทย์ลาดกระบัง, แพทย์ มศว. และ University of Nottingham (Joint Medical Programme), แพทย์ธรรมศาสตร์ (CICM) และ ทันตะฯ ธรรมศาสตร์ (CICM) แต่ขอเน้นเลยว่า การใช้คะแนน BMAT ยื่นเข้าเป็นการเข้าโครงการโดยใช้ความสามารถพิเศษทางภาษาอังกฤษ แต่เข้าไปเรียนกับน้องๆ ที่สอบเข้า กสพท. โดยที่ไม่มีการเรียนที่แตกต่างกันเลย
ข้อสอบ BMAT ยากไหม ต้องสอบอะไร?!
ข้อสอบ BMAT หรือ Bio Medical Admissions Test ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
- Section 1: Aptitude and Skills
พาร์ทนี้น้องๆ ส่วนใหญ่บอกว่ายาก เนื่องจากเป็นการวัดระดับความถนัดแพทย์ มีข้อสอบทั้งหมด 35 ข้อ เวลาทำข้อสอบ 60 นาที เป็นคำถามแบบเลือกตอบ
โดยจะแบ่งออกเป็น 3 แนว คือ- Critical Thinking การหาข้อผิดพลาดจาก Argument ที่โจทย์ให้มาและสรุปด้วยเหตุผล
- Problem Solving การแก้ปัญหาโดยใช้ทักษะคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
- Data Analysis โจทย์แนววิเคราะห์ข้อมูลจาก Data ไม่ว่าจะเป็น Text, Stat, หรือ Graph
- Section 2: Scientific Knowledge and Applications
เป็นส่วนที่วัดความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ครอบคลุมในรายวิชาฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, และคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประมาณ ม.4 ซึ่งความยาก-ง่ายจะพอๆ กับ IGCSE และ GCSE มีข้อสอบทั้งหมด 27 ข้อ เวลาทำข้อสอบ 30 นาที และเป็นแบบเลือกตอบเช่นเดียวกัน
- Section 3: Writing Task
เป็นการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นการเขียนตอบคำถาม 1 ข้อ โดยเลือกจาก 3 หัวข้อที่ให้มา โดยเขียนในรูปแบบของ Essay โดยข้อสอบส่วนนี้ใช้เวลา 30 นาที คำถาม Essay จำนวน 300 คำ ในส่วนนี้จะมีคำถามทั้งในด้านของจรรยาบรรณทางการแพทย์, ปรัชญา, กฎหมาย, สิทธิมนุษยชน และสังคมศาสตร์
น้องๆ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยว่าแต่ละ Section มีรายละเอียดข้อสอบอย่างไรบ้าง ทาง BMAT บอกไว้ละเอียดมากๆ ตามลิงค์นี้ได้เลยค่ะ http://www.admissionstestingservice.org
จะสอบ BMAT ต้องเรียนจบ ม.6
ก่อนหรือเปล่า?!
น้องๆ สามารถลงสอบได้ตั้งแต่ชั้น ม.5 เลยค่ะ เพราะคะแนน BMAT สามารถเก็บไว้ใช้ได้ถึง 2 ปี เพราะฉะนั้น ถ้าน้องๆ เตรียมตัวพร้อมแล้วก็สามารถสมัครสอบได้เลย ถ้าสอบตั้งแต่ ม.5 ก็แก้ตัวได้อีก `1 รอบตอน ม.6 แต่ถ้าพอใจคะแนนที่ได้แล้ว สามารถเก็บคะแนนไว้เพื่อยื่นในรอบที่ต้องการได้เลยค่ะ
ไม่ได้เรียนสายวิทย์-คณิต
แต่อยากเป็นหมอ สอบแค่ BMAT ได้ไหม?!
สำหรับน้องๆ ที่เรียนสายศิลป์มาและอยากสอบเป็นหมอ สามารถทำได้นะคะ แต่ทั้งนี้วิชาในการสอบ BMAT ของน้องๆ จะมีวิชาที่ครอบคลุมการสอบทั้งคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, และ ชีววิทยา หากน้องๆ เรียนสายศิลป์ก็อาจจะมีความเสียเปรียบกว่าในส่วนนี้ แต่ถ้าน้องๆ มีความตั้งใจและเตรียมตัวมาอย่างดีก็สามารถที่จะทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ
ไม่เก่งภาษาอังกฤษ
จะสอบ BMAT ได้หรือเปล่า?!
ข้อสอบของ BMAT เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษหมดเลย หลายๆ คนอาจจะมีความกังวลว่าจะทำได้หรือเปล่า แต่จากข้อสอบเก่าที่ได้ดูมาสำหรับพาร์ตที่เป็น Math, Physics, Chemistry และ Biology จะใช้คำศัพท์เฉพาะที่ไม่ยากจนเกินไป ซึ่งน้องๆ สามารถเจอคำศัพท์พวกนี้ได้ตามหนังสือเรียน หรือจะลองหาหนังสือภาษาอังกฤษมาอ่านเพิ่มเติม ก็จะช่วยให้คุ้นเคยกับคำศัพท์ได้มากขึ้นค่ะ
แต่ถ้าเป็นในส่วนการสอบพาร์ต Writing อาจจะหนักหน่อยและต้องการฝึกเขียนเยอะๆ เพราะจะเป็นการเขียน Essay จำนวน 300 คำ ภายในเวลา 30 นาที และหัวข้อส่วนใหญ่จะเป็นเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่น้องๆ ต้องการเข้าไปเรียนต่อในมหา’ลัย ถ้ามีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาดีก็สามารถผ่านข้อสอบส่วนนี้ไปได้แน่นอนค่ะ
ยื่นคะแนน BMAT แล้วต้องเข้าเรียนแบบอินเตอร์หรือเปล่า? มีค่าใช้จ่ายแบบอินเตอร์หรือเปล่า?
น้องๆ ที่เข้าไปเรียนกับเพื่อนๆ ที่รับผ่าน กสพท. จ่ายค่าเทอมเท่ากัน ไม่ได้แพงเหมือนหลักสูตรอินเตอร์จริงๆ ค่ะ
การสอบ BMAT ดีกว่าการสอบแบบ กสพท. หรือเปล่า?
- ยื่นคะแนนเข้าหมอได้ตั้งแต่ TCAS รอบ 1
- คะแนน BMAT ที่ยื่นเข้าคณะแพทย์เปิดรับมากถึง 300 ที่นั่ง
- คู่แข่งจะค่อนข้างน้อยกว่าการสอบแพทย์ กสพท.
- เนื้อหาจะคล้ายกันบางส่วน และก็มีส่วนที่ต่างกันออกไป
ถ้าให้เลือก IELTS กับสอบ BMAT
จะสอบอะไรก่อนดี?!
ขอแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับตารางการสอบ BMAT สามารถสอบได้ 2 รอบต่อปี แต่น้องๆ จะเลือกสอบได้รอบเดียวเท่านั้น แต่ IELTS (Paper-based) สามารถทำการสอบได้เดือนละ 3 ครั้ง เพราะฉะนั้นการเตรียมสอบ BMAT ค่อนข้างเสี่ยงและเนื้อหาเยอะกว่า จึงอยากให้เก็บคะแนน IELTS ให้สูงและไวที่สุด ยิ่งถ้าสอบ IELTS Writing ได้ดี ก็จะสามารถประยุกต์มาใช้กับการสอบ BMAT ได้เช่นกัน และอยากแนะนำเลยว่าพยายามให้ได้คะแนน IELTS 7.0 ขึ้นไป เพราะน้องๆ จะสามารถใช้คะแนนยื่นเข้าคณะแพทย์ได้และคณะอื่นๆ อีกหลายๆ คณะ
ข้อสอบ BMAT มีรอบไหนง่ายไหม?!
การสอบ BMAT ไม่มีรอบไหนยากหรือง่าย เพราะเป็นข้อสอบมาตราฐานสากลทั้งหมดเลย แต่น้องๆ สามารถเลือกรอบสอบที่มีการเตรียมความพร้อมมาดีที่สุดได้ ยิ่งรู้ตัวเร็วตั้งแต่ ม.5 สามารถสอบได้ 2 ครั้ง เพราะคะแนนสามารถเก็บไว้ใช้ได้ 2 ปี
จะเตรียมตัวเวลาใกล้สอบยังไงดี?!
ไม่ว่าการสอบไหนๆ จะต้องมีการวางแผนในการเตรียมตัวสำหรับการสอบในทุกๆ ครั้ง เพื่อจะได้สามารถมองเห็นเป็นเหมือนผังใหญ่ ว่าเราจะติวอะไร เมื่อไร และสามารถแบ่งเวลาจัดสรรได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพราะแน่นอนว่าส่วนใหญ่คงไม่ได้สอบ BMAT อย่างเดียวแน่นอน เพราะฉะนั้นการวางแผนการเรียนสำคัญมาก และอีกอย่างหนึ่งคือน้องๆจะได้เช็คตัวเองให้ดีว่าตัวเองถนัดหรือไม่ถนัดวิชาไหนบ้าง เช่น ถ้าน้องๆ ไม่ถนัดเขียน Essay writing ก็ต้องมาดูว่าจะมีวิธีการรับมือยังไงได้บ้างเพื่อเตรียมตัวให้ทันก่อนไปสอบนั่นเอง
สำหรับคนที่ต้องการจะหาข้อสอบเก่าๆ ของ BMAT รอบที่ผ่านๆ มา เพื่อฝึกฝีมือตัวเองน้องๆ สามารถเข้าไปดูได้จากบล็อกด้านล้างของ InterPass ได้เลยที่รวบรวมมาไว้ให้ทั้งหมดแล้ว
รวม Past Papers BMAT, IMAT และ TSA ย้อนหลัง 10 ปี
สมัครสอบ BMAT
จบกันไปแล้วสำหรับคำถามยอดฮิตก่อนจะสอบ BMAT น้องๆ คงเข้าใจและมองเห็นภาพมากขึ้นก่อนจะไปลุยสนามสอบ พี่ๆ ขอให้น้องๆ มีความตั้งใจในทุกการสอบ และหมั่นฝึกฝนอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ผลตอบแทนของการสอบนั่นออกมาดี
สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่มั่นใจว่าสกิลการเตรียมตัวหรือการวางแผนของเราดีหรือยัง หรือตัวเองเป็นคนที่ต้องได้รับการกระตุ้นอยู่บ่อยๆ เลยอยากแนะนำให้น้องๆเข้ามาปรึกษากับพี่ๆ InterPass ได้เลยเพราะบอกเลยว่ามีความเชี่ยวชาญกับการให้คำปรึกษาวางแผนการสอบเป็นอย่างดีแน่นอน และยังมีคอร์สสำหรับการสอบ BMAT ที่บอกเลยว่าปูพื้นฐานไปจนพร้อมลุยแบบเข้มข้นอย่างแน่นอน