BLOG

    Home Blog 10 คำถามยอดฮิตหลักสูตร EP ไขข้อสงสัยสำหรับคุณพ่อ-คุณแม่

10 คำถามยอดฮิตหลักสูตร EP ไขข้อสงสัยสำหรับคุณพ่อ-คุณแม่

10 คำถามยอดฮิตหลักสูตร EP ไขข้อสงสัยสำหรับคุณพ่อ-คุณแม่

สวัสดีน้องๆ ชาว InterPass ทุกคนรวมถึงคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ วันนี้พี่แอดจะมาแชร์ข้อมูลให้สำหรับน้องๆและคุณพ่อคุณแม่ในการเตรียมวางแผนการเรียนสำหรับน้อง ม.ต้น ในการเรียนหลักสูตร EP หรือที่เรียกว่า English program วันนี้พี่แอดมินเลยรวมข้อมูลและคำถามยอดฮิตที่มีข้อสงสัยกันของหลักสูตร EP มาเพื่อให้ผู้ปกครองและน้องๆได้เก็บข้อมูลไว้ตัดสินใจในการประกอบการวางแผนการเรียนของน้องๆต่อไป ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มทำความรู้จักหลักสูตร EP กันเลย!!

ทำความรู้จักหลักสูตร English Program

Q: หลักสูตร EP คืออะไร?

หลักสูตร EP หรือ English program เป็นการจัดการเรียนการสอนเป็นรูปแบบภาษาอังกฤษ ทั้งหนังสือและครูจะเป็นอังกฤษทั้งหมด โดยต้องมีครูเจ้าของภาษาหรือเทียบเท่าเป็นผู้สอน แต่จะมีบางวิชาที่ยกเว้น เช่น วิชาภาษาไทย, วิชาประวัติศาสตร์, วิชาพระพุทธศาสนา, วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และวิชาสังคมศึกษา เป็นต้น ที่จะจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย ซึ่งหลักสูตรนี้จะสามารถจัดการเรียนได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักเรียนหลักสูตรนี้จะมีการเรียนภาษาอังกฤษที่เข้มข้นกว่าภาคปกติ

Q: วิชาเรียนไหนเป็นภาษาอังกฤษบ้าง?

โดยส่วนมากแล้วแต่ละโรงเรียนจะมีการกำหนดวิชาที่จะเรียนเป็นภาษาอังกฤษแตกต่างกันไป แต่ที่นิยมจะเรียนวิชาหลักเป็นภาษาอังกฤษ ได้แก่ English (ภาษาอังกฤษ), Mathematics (คณิตศาสตร์), Science (วิทยาศาสตร์), Social Studies (สังคมศึกษา), History (ประวัติศาสตร์) และ Health (สุขศึกษา)

Q: เรียน​ EP แตกต่างจากโรงเรียน Inter อย่างไร?

แยกง่ายๆคือ EP จะเรียนหลักสูตรของไทยเป็นภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็น Inter จะเรียนหลักสูตรนานาชาติ ส่วนในความแตกต่างอื่น ที่สังเกตได้ชัดนั่นก็คือ เรื่องของสังคม บรรยากาศ และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และโดยส่วนมากของโรงเรียนนานาชาติไม่ว่าจะอยู่ในเวลาเรียนหรือไม่ว่าช่วงทำกิจกรรมอื่นๆก็จะใช้ภาษาอังกฤษ ในขณะที่โปรแกรม EP จะมีสังคมวัฒนธรรมที่ยังเป็นไทยอยู่ แต่จะเป็นการผสานการเรียนเป็นภาษาอังกฤษเข้าไป

Q: ถ้าพื้นฐานภาษาอังกฤษไม่ดี จะเรียน EP ได้มั้ย?

สำหรับพื้นฐานภาษาอังกฤษนั้นจะดีขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่สิ่งที่พี่แอดมินคิดว่าคือปัจจัยหลักนั่นคือการที่น้องๆต้องมีความขยัน และหมั่นฝึกฝนด้วยตัวเองในทุกวัน และถ้าเริ่มเรียนหลักสูตร EP ตั้งแต่ม.ต้นก็จะมีความได้เปรียบที่มากขึ้น เพราะตัวเนื้อหายังไม่ได้ยากจนเกินไป แต่ถ้ามาเรียนตอนช่วงม.ปลายเลยโดยที่ไม่ได้มีพื้นฐานหรือลงคอร์สติวมาก่อนก็อาจจะไม่สามารถเรียนได้

Q: ครูผู้สอนเป็นคนไทยหรือครูต่างชาติ?

คำถามนี้ก็เป็นคำถามยอดฮิตเช่นกัน สำหรับโปรแกรม EP โดยวิชาส่วนใหญ่ที่เป็นภาษาอังกฤษก็จะเป็นครูต่างชาติ แต่ถ้ามีวิชาที่เป็นภาษาไทยครูคนไทยก็จะเข้ามาสอนนั่นเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนในการกำหนดการสอนของครูที่จะเข้ามาสอนแตกต่างกันไปอีกเช่นกัน

Q: ในหนึ่งวันเรียนกี่ชั่วโมง (ม.ต้น / ม.ปลาย) ต่างจากภาคไทยไหม?

โดยปกติแล้วการเรียนหลักสูตร EP นั้นจะมีชั่วโมงการเรียนไม่ได้แตกต่างไปจากการเรียนภาคภาษาไทย จะเรียน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน โดยทั่วไปจะเรียนวิชาภาษาอังกฤษเฉลี่ยวันละ 4 คาบ ทั้งนี้จะมีการกำหนดตารางดรียนของแต่ละวิชาต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน

Q: ถ้าอยากสอบเข้าเรียนหลักสูตร EP ต้องทำอย่างไร? สอบวิชาไหนบ้าง?

การสอบเข้าเรียนหลักสูตร EP จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การทดสอบความรู้ทางวิชาการ และ การสอบสัมภาษณ์ และข้อสอบที่จะใช้ในการสอบของหลักสูตร EP  จะมี 3 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ โดยการสอบทั้งหมดจะสอบเป็นภาษาอังกฤษ และการสัมภาษณ์จะสอบเป็นภาษาอังกฤษเช่นกัน

Q: ถ้าเรียนภาคไทยมาแล้วอยากเข้าหลัก EP ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

สำหรับการเตรียมตัวถ้าอยากจะเข้าหลักสูตร EP นั่นคือการฝึกฝนทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษ ให้ดีเพราะวิชาหลักในหลักสูตร EP เรียนกันเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะตามคนอื่นให้ทันหรืออาจจะมีการหาคอร์สเรียนเสริมควบคู่ไปด้วยเพื่อความเร็วในการพัฒนาของน้องๆ

Q: โรงเรียนหลักสูตร EP มีที่ไหนบ้าง?

สำหรับโรงเรียนหลักสูตร EP ทั้งม.ต้น และ ม.ปลายค่อนข้างมีหลากหลาย รวมทั้งการเรียนในหลักสูตรโรงเรียนนานชาติ เช่น MUIDS, SPIP, KMIDS เป็นต้น หรือจะเรียนต่อโรงเรียนเดิมที่จะเป็นในหลักสูตร EP ได้เหมือนกัน และพี่แอดจะขอมาแชร์โรงเรียนที่เปิดสอนในหลักสูตร EP พี่แอดจะลิสต์ไว้ให้คุณพ่อคุณแม่พิจารณาเพิ่มเติมการตัดสินใจ

รวมรายชื่อโรงเรียนรัฐบาล ในกทม.และปริมณฑล ที่เปิดสอนหลักสูตร EP ม.ต้น

  1. มัธยมวัดสิงค์ – กรุงเทพฯ
  2. โพธิสารพิทยากร – กรุงเทพฯ
  3. มัธยมวัดนายโรง – กรุงเทพฯ
  4. ทวีธาภิเศก – กรุงเทพฯ
  5. สิริรัตนาธร – กรุงเทพฯ
  6. สามเสนวิทยาลัย – กรุงเทพฯ
  7. สตรีวิทยา 2 – กรุงเทพฯ
  8. นวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า – กรุงเทพฯ
  9. เทพศิรินทร์ – กรุงเทพฯ
  10. สตรีวิทยา – กรุงเทพฯ
  11. เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า – กรุงเทพฯ
  12. เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ – กรุงเทพฯ
  13. ศึกษานารี – กรุงเทพฯ
  14. วัดนวลนรดิศ – กรุงเทพฯ
  15. สามเสนวิทยาลัย – กรุงเทพฯ
  16. สวนกุหลาบ ธนบุรี – กรุงเทพฯ
  17. สิรินธรราชวิทยาลัย – นครปฐม
  18. สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี – นนทบุรี
  19. สตรีนนทบุรี – นนทบุรี
  20. สวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต – ปทุมธานี
  21. ธัญญบุรี – ปทุมธานี
  22. ราชวินิชบางแก้ว –  สมุทรปราการ

รวมรายชื่อโรงเรียนเอกชน ในกทม.และปริมณฑล ที่เปิดสอนหลักสูตร EP ม.ต้น

  1. โยธินบูรณะ ม.1 – ม.6 – กรุงเทพฯ
  2. ศรีวิกรม์ – กรุงเทพฯ
  3. สารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่ – กรุงเทพฯ
  4. ฉัตรวิทยา – กรุงเทพฯ
  5. ดรุณพัฒน์ – กรุงเทพฯ
  6. จินดามณี – กรุงเทพฯ
  7. กรุงเทพวิเทศศึกษา – กรุงเทพฯ
  8. เด็กสากล – กรุงเทพฯ
  9. กสิณธรอนุสรณ์ – กรุงเทพฯ
  10. สารสาสน์วิเทศธนบรี – กรุงเทพฯ
  11. อัสสัมชัญธนบุรี – กรุงเทพฯ
  12. เทพสัมฤทธิ์วิทยา – กรุงเทพฯ
  13. เลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก – กรุงเทพฯ
  14. สารสาสน์วิเทศบางบอน – กรุงเทพฯ
  15. ทิวไผ่งาม – กรุงเทพฯ
  16. กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย – กรุงเทพฯ
  17. กว่างเจ้า – กรุงเทพฯ
  18. เซนต์โยเซฟคอนเวนต์ – กรุงเทพฯ
  19. อัสสัมชัญ – กรุงเทพฯ
  20. เลิศหล้าถนนเกษตร-นวมินทร์ – กรุงเทพฯ
  21. ยุวทูตศึกษา – กรุงเทพฯ
  22. ฐานปัญญา – กรุงเทพฯ
  23. เด็กสากลนิมิตใหม่ – กรุงเทพฯ
  24. สารสาสน์พิทยา – กรุงเทพฯ
  25. สารสาสน์เอกตรา – กรุงเทพฯ
  26. สารสาสน์วิเทศร่มเกล้า – กรุงเทพฯ
  27. อุดมศึกษา – กรุงเทพฯ
  28. คริสต์ธรรมศึกษา – กรุงเทพฯ
  29. ศิริวัฒน์วิทยา – กรุงเทพฯ
  30. สารสาสน์วิเทศสายไหม – กรุงเทพฯ
  31. กรพิทักษ์ศึกษา – กรุงเทพฯ
  32. ปิยพัฒน์ – กรุงเทพฯ
  33. เลิศหล้า – กรุงเทพฯ
  34. บางกอกแอ๊ดแวนต์ – กรุงเทพฯ
  35. ไผทอุดมศึกษา – กรุงเทพฯ
  36. บางกอกทวิวิทย์ – กรุงเทพฯ
  37. ยอแซฟอุปถัมภ์ – นครปฐม
  38. กสิณธร – นนทบุรี
  39. สารสาสน์วิเทศบางบัวทอง – ปทุมธานี
  40. เซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ – ปทุมธานี
  41. สารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ – ปทุมธานี
  42. เอเชียเอกตรา – ปทุมธานี
  43. สาธิตคริสเตียนวิทยา – ปทุมธานี
  44. เอเชียเอกตรา – ปทุมธานี
  45. สาธิตคริสเตียนวิทยา – ปทุมธานี
  46. สารสาสน์วิเทศคลองหลวง – ปทุมธานี
  47. สารสาสน์วิเทศรังสิต – ปทุมธานี
  48. สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต – ปทุมธานี
  49. นันทวรรณทวิภาษ – สมุทรปราการ
  50. ประภามนตรี 3 – สมุทรปราการ
  51. สาธิตบางนา – สมุทรปราการ
  52. สารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ – สมุทรปราการ
  53. สารสาสน์วิเทศศึกษา – สมุทรปราการ
  54. อัสสัมชัญสมุทรปราการ – สมุทรปราการ
  55. เซนต์โยเซฟ บางนา – สมุทรปราการ
  56. ประภามนตรี2  – สมุทรปราการ
  57. ทานตะวันไตรภาษา – สมุทรสาคร

Q: แล้วทางเลือกที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยในอนาคตของเด็ก EP จะเป็นอย่างไร?

สำหรับคำถามข้อนี้บอกได้เลยว่า น้องๆที่เรียนด้าน EP มามีความค่อนข้างได้เปรียบในเรื่องของภาษาอังกฤษจึงทำให้มีตัวเลือกมากในการศึกษาต่อ เพราะการเรียนหลักสูตรEP ก็เป็นหลักสูตรเดียวกับภาคไทยเพียงแค่เรียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทำให้การไปสอบแข่งขันกับเด็กภาคไทยก็ไม่ได้เป็นปัญหา และถ้าอยากไปเข้าต่อในภาคอินเตอร์ก็เลือกได้ ซึ่งปกติเราจะมีการยื่นเอกสารหรือคะแนนสอบตามที่มหาลัยกำหนดไว้ หรืออีกทางคือน้องๆสามารถที่จะไปเรียนต่อได้ในต่างประเทศซึ่งการยื่นคะแนนจะมีความคล้ายกับการยื่นคะแนนเข้าภาคอินเตอร์ จึงเป็นเหตุผลทำให้น้องๆหลักสูตร EP มีตัวเลือกในหลายทาง

ตอบคำถามครบ 10 ข้อไปแล้ว หวังว่าจะช่วยไขข้อสงสัยสำหรับหลักสูตร EP ได้นะคะ น้องๆที่อยากจะมีตัวช่วยที่จะปูทางให้น้องๆไปในสายนี้ได้เร็วขึ้น พี่แอดมินมีคอร์สใหม่แกะกล่องมาให้น้องๆ นั่นคือ “InterPrep” จากพี่ๆ InterPass นั่นเอง ถ้าน้องๆหรือผู้ปกครองที่สนใจคอร์ส Package วิชาไหนก็สามารถไปคลิกเช็กเพิ่มเติมไปที่นี่เลย หรือปรึกษาวางแผนการเรียน EP ให้น้องๆ สามารถติดต่อผ่านช่องทางด้านล่างเลยค่า

คอร์ส EP ม.ต้น Interpass

________________________________________
InterPass ที่ 1 ด้านอินเตอร์ ✈️
สอบถามคอร์สเรียน Inbox: m.me/interpassinstitute
Line: @InterPass
Tel: 089-9964256, 089-9923965

BBA CU, BBA TU Active & Passive Voice คืออะไร แกรมม่าพื้นฐานที่ต้องรู้ | Interpass

Date : Sep 22, 2021

You May Like