BLOG

    Home Blog Latest อยากเรียนข้ามชั้นมีวิธีไหนบ้าง? ต้องเรียนเก่งจริงไหม ?

อยากเรียนข้ามชั้นมีวิธีไหนบ้าง? ต้องเรียนเก่งจริงไหม ?

อยากเรียนข้ามชั้นมีวิธีไหนบ้าง? ต้องเรียนเก่งจริงไหม ?

การเรียนข้ามชั้น คือ การยื่นสอบผ่านระบบอื่นๆ เพื่อนำมาเทียบกับวุฒิการศึกษาและขยับจากชั้นเรียนเก่ามาสู่ชั้นเรียนใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องรอเป็นปีเพื่อขึ้นทีละชั้น 

นอกจากการเรียนข้ามชั้นจะตอบโจทย์ในด้านเวลาและการเรียนที่เหมาะกับระดับความรู้ของผู้เรียนแล้ว ยังถือเป็นตัวเลือกที่ดีในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ เช่นในปัจจุบัน สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาทำให้เกิดปัญหาทางการศึกษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่มีการพักการเรียนการสอนไป หรือการที่สถาบันการศึกษาต่างๆ เปิด-ปิดการเรียนการสอนแตกต่างกัน จนทำให้การพัฒนาทักษะทางการเรียนไม่เท่ากัน สุดท้ายแล้วบางคนเรียนนำเพื่อนๆ ในระดับเดียวกันไป ขณะที่บางคนตามคนอื่นๆ ไม่ทัน การเรียนข้ามชั้นจึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นในยุคสมัยนี้ 

บทความนี้จะมาแนะนำว่าหากน้องๆ สนใจจะเรียนข้ามชั้นจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง มีขั้นตอน และช่องทางอะไรให้เลือก ตามไปดูกันเลยดีกว่า

ขั้นตอนการเรียนข้ามชั้นที่ต้องรู้

ขั้นตอนการเรียนข้ามชั้นที่ต้องรู้

ก่อนจะไปเรียนข้ามชั้น ก็มีขั้นตอนดีๆ ที่หากรู้และทำไว้ก่อนก็จะช่วยให้การเรียนข้ามชั้นนั้นราบรื่นขึ้น ดังนี้

  • ศึกษาเรื่องเกณฑ์การเทียบวุฒิและเงื่อนไขต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและระดับชั้นที่ต้องการจะข้ามชั้นให้ดี ว่าสามารถใช้การเทียบข้ามชั้นได้หรือไม่ และใช้ระบบใดในการเทียบ
  • ตรวจสอบว่ามีความพร้อมกับเนื้อหาสิ่งที่จะเรียนต่อหรือไม่ ผ่านการทดลองดูตัวอย่างหนังสือเรียน หรือทดลองเข้าฟังคอร์สการศึกษาของระดับชั้นที่สนใจจะเรียน 
  • ศึกษาระบบสอบเทียบที่ต้องใช้ ร่วมกับการปรึกษาครูที่ปรึกษาหรือครูที่สอน เช่น ขอให้ครูช่วยประเมินความรู้ความสามารถ หรืออาจปรึกษาขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผน เช่น หากต้องการเรียนข้ามชั้นแบบสอบเทียบต่างๆ อย่าง GED ควรจะตัดสินใจลาออกไปเตรียมตัวสอบ จะเรียนไปด้วยเริ่มเตรียมตัวสอบเทียบไปด้วย หรือจะพักการเรียนไปดีกว่า
  • วางแผนและเตรียมพร้อมที่จะต้องแบกรับกับภาระการศึกษาที่สูงขึ้น และเวลาส่วนตัวที่อาจจะน้อยลงในช่วงแรก อาจลองพยายามปรับตัวตั้งแต่ก่อนสอบข้ามชั้นเรียน เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างลื่นไหล ในส่วนของการเตรียมตัวนั้น ไปดูรายละเอียดในหัวข้อถัดไปได้เลย! 
จะเรียนข้ามชั้นได้ต้องเตรียมอะไรบ้าง

จะเรียนข้ามชั้นได้ต้องเตรียมอะไรบ้าง

การเรียนข้ามชั้น คือการเรียนในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ ซึ่งจะต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทาย และอุปสรรคหลายๆ อย่างที่จะตามมาจากการข้ามระดับชั้น ดังนี้

มีผลการเรียนที่ดี

ผู้ที่จะทำการเรียนข้ามชั้นจำเป็นที่จะต้องมีผลการเรียนที่ดี เพื่อที่จะช่วยยืนยันได้ว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในระดับการเรียนปัจจุบันดีพอแล้ว และแสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะรับมือกับระดับการเรียนที่สูงขึ้นไปจากที่เป็นอยู่

เตรียมความพร้อมด้านอารมณ์

การเรียนข้ามชั้นอาจจะต้องเรียนรวมกับคนที่อายุมากกว่า ต้องพบกับโลกที่กว้างขึ้น คนที่มีทัศนคติหลากหลายขึ้นกว่าในห้องเรียนเดิม หรืออาจมีความกดดันจากความคาดหวังโดยรอบว่าเป็นเด็กเก่งจึงสอบเทียบเข้ามาได้ก็เป็นได้ ซึ่งจะต้องมีเตรียมความพร้อมทางด้านอารมณ์ให้ดี เช่น เตรียมตัวให้พร้อมที่จะเข้าสังคมใหม่ๆ หรือ เรียนรู้ที่จะจัดการกับการคาดหวังและความกดดันของตัวเองและของผู้อื่น 

พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

หลังจากที่สอบข้ามชั้นเรียนได้สำเร็จแล้ว ก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายตามมา เช่น ต้องย้ายห้องและแยกจากหมู่เพื่อนที่เรียนและเติบโตมาด้วยกัน ต้องเปลี่ยนสังคมกลุ่มเพื่อนอย่างฉับพลัน เนื้อหาการเรียนรู้ รูปแบบการเรียน การเปลี่ยนแปลงสถานที่ รวมถึงบรรยากาศรอบๆ ตัวเปลี่ยนไป จึงจำเป็นจะต้องเตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลงไว้ก่อน เช่น สำหรับการเปลี่ยนในด้านของเนื้อหานั้นสามารถเตรียมตัวโดยการอ่านหรือศึกษาล่วงหน้าได้ เป็นต้น 

เวลาว่างอาจน้อยลง

โดยปกติในการเรียนการสอนนั้น มักจะมีการค่อยๆ เพิ่มเนื้อหา เพิ่มภาระงานหรือการบ้านมาเรื่อยๆ ทีละขั้นตามชั้นที่โตขึ้น เมื่อข้ามชั้นมาเลย จึงอาจจะทำให้รู้สึกว่าภาระนั้นเพิ่มแบบก้าวกระโดดและต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับภาระงานที่ไม่เคยทำมาก่อน นอกจากนั้น เนื้อหาและวิธีการเรียนอาจเป็นลักษณะที่ไม่คุ้นเคย ทำให้น้องๆ ต้อง ใช้เวลาในการทบทวนหรืออ่านหนังสือมากกว่าเดิม ในช่วงที่ยังต้องปรับตัวนี้ เวลาว่างจึงอาจจะน้อยลงนั่นเอง

ตัวเลือกการเรียนข้ามชั้น

ตัวเลือกการเรียนข้ามชั้น

การสอบข้ามชั้นเองก็มีตัวเลือกที่หลากหลาย สามารถทำได้อยู่หลายช่องทาง ซึ่งแต่ละช่องทางอาจจะมีความต่างกันที่ เกณฑ์ของคะแนน ค่าใช้จ่ายและความถี่ในการเปิดสอบ 

เรียนข้ามชั้นด้วย GED

GED คือ General Educational Development ที่เป็นหลักสูตรการศึกษาของอเมริกาที่สามารถใช้ในการสอบเทียบ ม.6 เข้ามหาวิทยาลัยได้ ซึ่งหลักสูตร GED จะต้องสอบทั้งหมด 4 รายวิชา ได้แก่ Mathematical Reasoning, Reasoning Through Language Arts, Social Studies, Science โดยทุกวิชาจะสอบเป็นภาษาอังกฤษ และจะเป็นแบบเลือกตอบ เติมคำ และเขียนตอบโดยส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีคะแนนเต็มวิชาละ 200 คะแนน กำหนดเกณฑ์การผ่านที่วิชาละ 145 คะแนน มีการเปิดสอบทางออนไลน์อยู่ตลอดเวลา และมีค่าใช้จ่ายแยกเป็นรายวิชาไป 

คะแนน GED สามารถใช้ยื่นเข้าได้หลายคณะทั้งหลักสูตรไทย และหลักสูตรนานาชาติ รวมทั้งใช้ยื่นมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ด้วย สามารถเช็ครายละเอียดในแต่ละคณะที่ต้องการเข้าว่าต้องใช้คะแนน GED แต่ละวิชาเท่าไร เพราะบางที่กำหนดให้ผ่านเกณฑ์ที่ 145 แต่บางทีกำหนดเกณฑ์ที่สูงกว่าคือ 165 คะแนน

เรียนข้ามชั้นด้วยตัวเลือก IGCSE และ A-Level 

ช่องทางต่อไปที่น่าสนใจก็ได้แก่ IGSCE หรือ International General Certificate of Secondary Educational ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาจากอังกฤษที่เทียบเคียงได้กับวุฒิม. 4 ของประเทศไทย และสามารถใช้คะแนน IGCSE เข้าคณะเรียนในไทยบางคณะได้เช่นกัน 

ส่วน A-Level คือ General Certificate of Education (GCE) Advanced Level เป็นหลักสูตรการศึกษาจากอังกฤษที่เทียบเคียงได้กับวุฒิม.6 ทั้งนี้ จะต้องเริ่มสอบ IGCSE ก่อน แล้วจึงจะต่อด้วย A-Level โดยผลการสอบสามารถสมัครได้หลากหลายมหาวิทยาลัยทั้งไทยและต่างประเทศ

การเทียบคะแนนแต่ละตัวเป็น GPAX

เมื่อได้คะแนนของแต่ละระบบข้ามชั้นเรียนมาแล้วนั้น นอกจากจะสามารถนำไปยื่นตามมหาวิทยาลัยที่รองรับผลสอบนั้นๆ ได้แล้ว ยังสามารถแปลงคะแนนให้กลายเป็น GPAX เพื่อนำไปยื่นในบางสถาบันที่รองรับการเทียบคะแนนเป็น GPAX ได้ด้วย โดยสามารถนำคะแนนไปเทียบได้ผ่านระบบ GPAX Equivalence Certificate 

GED การสอบเทียบวุฒิ ตัวเลือกนี้ดีอย่างไร

GED การสอบเทียบวุฒิ ตัวเลือกนี้ดีอย่างไร

การสอบ GED นับว่าเป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมในไทย มีความสะดวก และโดดเด่นกว่าตัวเลือกอื่น ไปดูเหตุผลกันว่าเพราะอะไร

  • หลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ทั้งภาคไทยและภาคนานาชาติ รองรับการเทียบวุฒิด้วยระบบ GED 
  • ใช้เทียบ GPAX ได้ผ่านการแปลงคะแนน ซึ่งอาจสามารถนำไปประกอบกับคะแนนอื่นๆ เป็นช่องทางในการยื่นสมัครเรียนต่อในภายภาคหน้าได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคณะนั้นๆ 
  • บางคณะในประเทศไทยอาจพิจารณา Math & Science ของ GED เป็นหนึ่งในเกณฑ์รับเข้าศึกษาต่อ
  • เลือกสอบได้ทั้งปี 
  • คุณสมบัตินั้นเพียงแค่อายุ 16 ปีขึ้นไปก็สามารถสอบได้โดยไม่ต้องมีวุฒิขั้นต่ำ 
  • ถือว่าสะดวกและง่ายกว่าการเลือกสอบ IGCSE และ A-Level ที่จะต้องสอบ IGCSE และต่อด้วย A-Level นั่นคือสอบสองครั้งจึงจะได้วุฒิ ม.6
เรียนข้ามชั้นแบบมั่นใจไปกับ GED FAST TRACK 

เรียนข้ามชั้นแบบมั่นใจไปกับ GED FAST TRACK 

GED FAST TRACK คือแพคเกจการเรียนของ InterPass ที่ตอบโจทย์การเตรียมคะแนน GED ครบทั้ง 4  วิชา คุ้มค่าทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะเป็นการเรียนแบบออนไลน์ระบบ S.E.L.F. สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา 

และราคาถ็ถูกกว่าการซื้อแยกทีละคอร์สอีกด้วย
GED FAST TRACK ประกอบด้วยเนื้อหา 120 ชม. โดยมีอายุคอร์ส 1 ปี ตอบโจทย์การเตรียมตัวของน้องๆ ที่เรียนครบ พร้อมสอบ ไม่เสียเวลาแน่นอน

  • GED Social Studies สรุปเนื้อหาครบ 4 ส่วน Civics & Government, U.S. History, Economics และ Geography พร้อมตะลุยโจทย์เข้มข้น
  • GED Language Arts ตะลุยข้อสอบภาษาอังกฤาทั้ง Writing และ Reading พร้อมเทคนิคทำโจทย์ Argumentative ครอบคลุมการตรวจ Essay
  • GED Math สรุปเนื้อหาครบทุกเรื่องที่ออกสอบและเทคนิคการคิดเลขสูตรเฉพาะ พร้อมตะลุยโจทย์
  • GED Science สรุปเข้มข้นเนื้อหาทุกเรื่อง Life, Physics, Earth & Space พร้อมลุยทำโจทย์จริง

เรียน GED FAST TRACK คลิกที่นี่

การเรียนข้ามชั้นเป็นทางเลือกที่ดีอันหนึ่งสำหรับน้องๆ ที่ต้องการเรียนในระดับชั้นที่สูงกว่าเกณฑ์ ซึ่งจะต้องมีการสอบเทียบ แล้วนำไปยื่นเพื่อที่จะได้ทำการข้ามชั้นเรียน สำหรับใครที่อยากเรียนข้ามชั้นก็จำเป็นที่จะต้องมีผลการเรียนที่ดี นอกจากนั้นยังจะต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งรูปแบบการเรียน และสังคมที่ต้องเจอ หากน้องๆ ตัดสินใจแน่วแน่แล้ว พี่ๆ InterPass ก็ขอสนับสนุนให้น้องๆ มุ่งมั่นและเตรียมความพร้อมให้ดี หากตั้งใจดีแล้ว การเรียนข้ามชั้นก็ไม่ยากเกินจะทำได้แน่นอน!

เรื่องน่ารู้การสอบ TU-GET (PBT) ตั้งแต่เริ่มสมัครจนก้าวออกจากห้องสอบ! By ครูพี่เพนนี 5 Tips and Tricks รู้ไว้ก่อนสอบ SAT Math 2021 By ครูพี่โจ

Date : Dec 15, 2022

You May Like