ตะลุยโจทย์ข้อสอบภาษาอังกฤษครบทั้ง Writing และ Reading
เทคนิคการทำโจทย์ ประเภท Argumentative รวมไปถึงตรวจ essay ไม่จำกัด
- เนื้อหา 30 ชั่วโมง
- ทบทวน 6 ชั่วโมง
ตะลุยโจทย์ข้อสอบภาษาอังกฤษครบทั้ง Writing และ Reading
เทคนิคการทำโจทย์ ประเภท Argumentative รวมไปถึงตรวจ essay ไม่จำกัด
ครูพี่กิ๊บ วลีรัตน์ หาญเมธีคุณา
ติดต่อทีมงานเพื่ือขอรหัสการจองได้ที่เบอร์ 089-996-4256 (รหัสการจอง 7 หลัก) โดยลูกค้าสามารถชำระเงินค่าเรียนได้ 3 ช่องทาง
พิมพ์ใบโอนเงิน: คลิกที่นี่ จากนั้น กรอกรายละเอียดต่างๆ และนำใบโอนเงินไปชำระเงินที่ธนาคาร โดยสามารถเลือกชำระได้ที่ 4 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
ใช้รหัสการจองเดียวกันกับการชำระผ่านธนาคาร เพียงเดิม 000 ด้านหน้า เช่น 000xxxxxxx เป็นต้น แจ้งเคาน์เตอร์ 7-11 ว่าช่าระเงินเข้าบริษัทเอ็นคอนเส็ปท์ และแจ้งรหัสการชำระเงินจากที่ขอกับทีมงาน
เรียนที่ Interpass ส่งการบ้าน Writing และ Speaking ได้ที่
การบ้าน Writing พี่ติวเตอร์จะตรวจพร้อมให้คะแนน
ส่งได้เลยที่ Email
* ก่อนส่งการบ้าน Writing อย่าลืมเขียน ชื่อ-นามสกุล รหัสนักเรียน ลงในกระดาษ
* โจทย์คำถามที่พี่ๆ ตรวจให้อยู่ในหนังสือเรียน และ Workbook ของคอร์สนั้นๆ
ฝึก Speaking ให้คล่องก่อนสอบ ด้วยการส่งคลิปเสียงมาที่ Line
Lesson 1 : Reading Strategies
3 ชั่วโมงLesson 2 : Reading:!Nonfiction
3 ชั่วโมงLesson 3 : Reading:!Fiction
3 ชั่วโมงLesson 4 : Mixed Exercise (Reading)
3 ชั่วโมงLesson 5 : Grammar
3 ชั่วโมงLesson 6 : Grammar (Cont’d)
3 ชั่วโมงLesson 7 : Mixed Exercise (Grammar)
3 ชั่วโมงLesson 8 : Essay Writing
3 ชั่วโมงLesson 9 : Essay Writing (Cont’d)
3 ชั่วโมงLesson 10 : Full Simulation Test
3 ชั่วโมงGED (General Educational Development) คือระบบสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ซึ่งเป็นหลักสูตรของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย
การสอบ GED ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย 4 รายวิชาได้แก่
ในแต่ละรายวิชานั้นมีทั้งหมด 30-50 คำถาม โดยมีคะแนนเต็มอยู่ที่ 200 คะแนน และเกณฑ์ผ่านอยู่ที่ 145 คะแนน ซึ่งผู้สอบจะต้องสอบผ่านทั้ง 4 วิชาจึงจะได้รับ วุฒิการศึกษาจากทาง GED Testing Service ที่สามารถใช้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ทั้งในไทย และในต่างประเทศ
การสอบ GED นั้นถือว่าเป็นทางเลือกสำหรับนักเรียนที่ต้องการวุฒิการศึกษามัธยมปลายในเวลาที่รวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้จบ ม.6 ซึ่งการสอบ GED นั้น ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ เพียงแค่ต้องมีอายุ ณ วันสอบ 16 ปีขึ้นไป
เมื่อสอบผ่านทั้ง 4 วิชาแล้ว ผู้สอบจะได้รับ Diploma และ Transcript จากทาง GED Testing Service และสามารถใช้เพื่อสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้เลย โดยไม่ต้องทำเรื่องเทียบวุฒิการศึกษากับทางกระทรวงศึกษาธิการ (อ้างอิงจากประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการเทียบวุฒิการศึกษาที่ประกาศไว้เมื่อ พ.ศ. 2560)
ระบบการสอบเทียบของ GED นั้นค่อยข้างยืดหยุ่น โดยผู้สอบสามารถจัดการวิชาสอบของตัวเองได้ เช่นสอบทีละวิชา หรือทุกวิชาพร้อมกัน
หากผู้สอบนั้นสอบไม่ผ่านรายวิชาใด สามารถสมัครสอบใหม่ได้เรื่อยๆ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการสอบ และสามารถสอบได้ทุกวัน ตลอดทั้งปี (แต่หากสอบไม่ผ่านเกิน 3 ครั้งติดกัน ในรายวิชานั้นๆ ผู้สอบจะต้องรอ 60 วัน ถึงจะสามารถสอบใหม่ได้)
ทั้ง GED และ IGCSE นั้น เป็นระบบการสอบเทียบวุฒิการศึกษาที่สามารถใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยได้เหมือนกัน โดย GED นั้นจะเป็นหลักสูตรของประเทศอเมริกา และ IGCSE เป็นหลักสูตรของประเทศอังกฤษ
ทั้งสองระบบมีลักษณะข้อสอบแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น GED นั้น ผู้สอบต้องสอบให้ผ่านเพียงแค่ 4 วิชา และข้อสอบส่วนใหญ่เป็นปรนัย (Multiple Choice) แต่ในส่วนของ IGCSE นั้น มีวิชาให้เลือกหลากหลาย โดยต้องสอบให้ผ่านอย่างน้อย 5 วิชา และข้อสอบส่วนใหญ่ของ IGCSE จะเป็นการเขียน (เช่นเขียนอธิบาย หรือ เขียนตอบคำถามสั้นๆ) ดังนั้นผู้สอบ IGCSE ควรจะมีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี
ในด้านความสะดวกในการสอบ GED ถือว่าสะดวกกว่า IGCSE เนื่องจาก GED สามารถสมัครสอบได้ทุกวันตลอดทั้งปี แต่ IGCSE มีการเปิดสอบเพียงปีละ 2 ครั้ง และมีศูนย์สอบเพียงในจังหวัดกรุงเทพฯ
เห็นได้ชัดว่า ระบบการสอบ GED นั้นมีความเรียบง่าย, ใช้เวลาน้อยและสะดวกกว่าระบบ IGCSE ดังนั้น สำหรับน้องๆที่กำลังมองหาการสอบเทียบวุฒิการศึกษาในเวลาที่รวดเร็วและสะดวก ทาง Interpass แนะนำให้เลือกสอบเทียบระบบ GED
ปัจจุบันศูนย์สอบ GED ในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 ศูนย์สอบ ได้แก่
วุฒิ GED ที่ผู้สอบได้มาหลังจากสอบผ่านครบทั้ง 4 วิชาแล้วนั้น ถือว่าเทียบเท่าวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย และสามารถใช้ยื่นเข้าสมัครเรียนต่อได้ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ทั้งภาคนานาชาติ (international) และภาคปกติ โดยตัวอย่างคณะของมหาวิทยาลัยในไทยที่สามารถใช้วุฒิ GED ในการสมัครได้ มีดังนี้
และภาคไทยในคณะต่างๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ / อักษรศาสตร์ /นิติศาสตร์ เป็นต้น
หลักสูตรนานาชาติของคณะต่าง ๆ ได้แก่
คณะบัญชี (BBA), คณะเศรษฐศาสตร์ (BE), คณะรัฐศาสตร์ (BMIR), คณะสังคมสงเคราะห์ (SPD), อังกฤษ-อเมริกัน ศึกษา (BAS), ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (BEC), สื่อมวลชนศึกษา (BJM), นวัตกรรมการบริการ(MSI), กฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ (LL.B.), การออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD), เทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (CDT), สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (TEP,TEPPE) เป็นต้น
และยังสามารถยื่นสมัครเรียนภาคไทยในคณะต่างๆ เช่น พาณิชยศาสตร์และการบัญชี / รัฐศาสตร์ / เศรษฐศาสตร์ / สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ / วิศวกรรมศาสตร์ / ศิลปศาสตร์ยกเว้นสาขาวิชาฝรั่งเศสและจีน / ศิลปกรรมศาสตร์ / สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง / วิทยาลัยนวัตกรรม / วิทยาลัยสหวิทยาการ/ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วยอึ้งภากรณ์
สามารถใช้วุฒิ GED ยื่นได้หลายหลักสูตร เช่นคณะวิศวกรรมศาสตร์,
คณะเกษตร, วิศวกรรมการบินและอวกาศ-บริหารธุรกิจ, เศรษฐศาสตร์การประกอบการ, เศรษฐศาสตร์ และการตลาด เป็นต้น
วุฒิ GED นั้นยังสามารถใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐอื่นๆ ได้ในหลายมหาลัย เช่นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ
ในส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ ในประเทศไทยนั้น (เช่นมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC), มหาวิทยาลัยรังสิต ฯลฯ) สามารถใช้วุฒิ GED ยื่นได้เช่นเดียวกัน โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นหลักสูตรนานาชาติ
สำหรับหลักสูตรที่อยู่ในกลุ่มการแพทย์เช่น คณะแพทยศาสตร์, ทันตแพทยศาสตร์, เภสัชศาสตร์ ส่วนใหญ่แล้วจะต้องจบจากสายวิทย์-คณิต จึงไม่สามารถใช้ GED ยื่นได้
สรุปโดยสั้นว่าวุฒิ GED นั้น สามารถใช้ยื่นเข้าได้ทั้ง มหาวิทยาลัยภาคไทยและภาคนานาชาติได้เกือบทุกที่ในไทย รวมถึงมหาวิทยาลัยเอกชนหลายๆ แห่งอีกด้วย