BLOG

    Home Blog Highlight CU-AAT คืออะไร? ทางเลือกสู่ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ

CU-AAT คืออะไร? ทางเลือกสู่ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ

CU-AAT คืออะไร? ทางเลือกสู่ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ

สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว InterPass หลายๆ คณะภาคอินเตอร์ของทางจุฬาฯ ทยอยปล่อย Requirement 2022 ออกมากันเกือบหมดแล้ว ข้อสอบ CU-AAT ก็เป็นอีกทางเลือกในการยื่นเข้าคณะท็อป วันนี้พี่ๆ จะพามารู้จักข้อสอบ CU-AAT แบบละเอียดพร้อมตอบทุกคำถามที่น้องอยากรู้ ทั้งต้องสอบกี่วิชา? ใช้ยื่นเข้าคณะไหนได้บ้าง? ค่าสมัครเท่าไหร่? พร้อมแล้วไปอ่านบทความกันได้เลยค่า

CU-AAT คืออะไร?

CU-AAT หรือ Chulalongkorn University Academic Aptitude Test คือ แบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และ ภาษาอังกฤษ (Verbal) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เพื่อพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ โดยตัวข้อสอบจะมีความคล้ายกันกับ SAT ทั้ง Part Mathematics และ Part Verbal ซึ่งจะเป็นข้อสอบแบบ Multiple Choice ทั้งหมดจะมี 5 ตัวเลือก คะแนนเต็มจะอยู่ที่ 1,600 คะแนน

ข้อสอบ CU-AAT แบ่งออกได้ 2 ส่วน คือ

1.CU-AAT Mathematics Section (ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์) มีข้อสอบทั้งหมด 55 ข้อ ใช้เวลา 70 นาที คะแนนเต็ม 800 คะแนน มีรายละเอียดดังนี้

  • Arithmetic
  • Algebra
  • Geometry
  • Problem Solving

2. CU-AAT verbal หรือ ที่น้องคุ้นเคยกับชื่อ Verbal Section (ใช้วัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ) มีข้อสอบทั้งหมด 55 ข้อ ใช้เวลา 70 นาที คะแนนเต็ม 800 คะแนน ประกอบด้วย การอ่านเชิงวิเคราะห์

แบบทดสอบส่วนนี้จะประกอบด้วย  2 ส่วนย่อย ดังนี้

  • Section 1: Critical Reading includes
    • Sentence completions
    • Passage-based reading- Problem Solving
  • Section 2: Writing includes
    • Improving sentences
    • Identifying sentence errors
    • Improving paragraphs

ข้อควรรู้และค่าสมัครสอบ CU-AAT

1. คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-AAT เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ เช่น

  • ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์)
  • ChPE คณะวิศวกรรมศาสตร์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์)
  • BSAC คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีประยุกต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์)
  • EBA คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์)
  • BALAC คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์)
  • INDA คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์)
  • JIPP คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์)

2. คะแนนเต็ม 1,600 คะแนน และผลสอบมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ทำการสอบ

3. ค่าธรรมเนียมในการสมัคร แบบกระดาษ 1,300 บาท และ แบบคอมพิวเตอร์ 2,900 บาท

4. การสอบ CU-AAT เป็นข้อสอบแบบตัวเลือกทั้งหมด จะถูกหักคะแนน ถ้าตอบคำถามข้อใดผิดข้อละ 0.25 คะแนน (ถ้าตอบถูกได้ 1 คะแนน ถ้าไม่ตอบได้ 0 คะแนน)

5. สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้

สมัครสอบได้ที่ >> http://www.atc.chula.ac.th/th_html/th_aat.html

*หมายเหตุ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงกำหนดการข้างต้นตามความเหมาะสม

สำหรับน้องๆที่อยากจะเก็บคะแนนสอบดีๆจาก CU-AAT ขอให้น้องมีความตั้งใจในการฝึกฝนและตั้งเป้าหมายในสิ่งที่ต้องการ เชื่อว่าถ้าน้องๆทำเต็มที่กับมันจะต้องสำเร็จได้แน่นอน ส่วนน้องๆ หรือผู้ปกครองท่านไหนอยากวางแผนการเรียนต่อในมหาวิทยาลัยและคณะภาคอินเตอร์ สามารถติดต่อเข้ามาหาพี่ๆ InterPass ได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างเลยค่ะ

________________________________________
InterPass ที่ 1 ด้านอินเตอร์ ✈️
สอบถามคอร์สเรียน Inbox: m.me/interpassinstitute
Line: @InterPass
Tel: 089-9964256, 089-9923965

Requirement'65 | MUIC x SGU คณะแพทยศาสตร์ 6 ปีต่อเนื่อง ทดลองเรียน EP. ม.ต้น

Date : Sep 22, 2021

You May Like