การสอบ GED เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเทียบวุฒิการศึกษาตามระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยสามารถใช้ผลการสอบนี้ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งในปี 2025 มีการอัปเดตใหม่ที่น้อง ๆ ต้องรู้ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบที่กำลังจะมาถึง รวมถึงการเปรียบเทียบวุฒิ GED กับวุฒิมัธยมปลายของไทย และการใช้ผลสอบ GED ในการยื่นเข้าคณะต่าง ๆ ในประเทศไทย จะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันค่ะ
อัปเดตใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับการสอบ GED 2025
GED คืออะไร?
GED เป็นการสอบที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับมัธยมปลายตามระบบปกติ หรือผู้ที่ต้องการสอบเทียบวุฒิการศึกษาตามมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการสอบเทียบ GED จะทดสอบความรู้ในสาขาวิชาหลักๆ เช่น การอ่าน, การเขียน, คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
ในประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการได้ให้การรับรองว่า GED เทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งหมายความว่าหากผู้สอบผ่านการสอบ GED แล้ว ก็สามารถใช้วุฒินี้ในการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศได้ ซึ่งจะมีการทดสอบใน 4 วิชา ดังนี้
- Reasoning Through Language Arts (RLA) – การทดสอบทักษะการอ่านและการเขียน
- Social Studies – การทดสอบความรู้ด้านสังคมศึกษา
- Mathematical Reasoning – การทดสอบความสามารถด้านคณิตศาสตร์
- Science – การทดสอบความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
การสอบ GED ในปี 2025 มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง?
ในปี 2025 มีการอัปเดตและปรับปรุงแนวข้อสอบ GED เพื่อให้เข้ากับมาตรฐานการศึกษาโลกและตอบโจทย์ผู้สอบในปัจจุบัน
การอัปเดตสำคัญในข้อสอบ GED ปี 2025
1.การอัปเดตเนื้อหาของข้อสอบ
GED Testing Service ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาของข้อสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป และความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีการปรับปรุงในด้านต่างๆ ดังนี้
- คณิตศาสตร์: เพิ่มการเน้นในเรื่องของพีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูล และการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
- การอ่านและการเขียน (RLA): เน้นการวิเคราะห์ข้อความที่ซับซ้อน, การใช้ไวยากรณ์ และการเขียนเรียงความเชิงโต้แย้ง
- สังคมศึกษา: เพิ่มหัวข้อเกี่ยวกับพลเมืองและการปกครอง พร้อมคำถามที่สะท้อนการใช้งานจริง
- วิทยาศาสตร์: เพิ่มเนื้อหาด้านชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยมีการเน้นการตีความข้อมูลจากกราฟและตาราง
2.รูปแบบคำถามใหม่
เพื่อประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น การสอบ GED ในปี 2025 นี้จะมีคำถามรูปแบบใหม่ๆ เช่น
- Drag-and-Drop: การลากและวางคำตอบในลำดับที่ถูกต้อง
- Fill-in-the-Blank: การเติมคำในช่องว่างเพื่อทดสอบความสามารถในการนำความรู้ไปใช้
- Scenario-Based Questions: คำถามที่จำลองสถานการณ์จริงเพื่อประเมินทักษะในการคิดและตัดสินใจ
3.เครื่องมือที่ใช้ในการสอบ
การสอบ GED ปี 2025 จะมีเครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยให้ผู้เข้าสอบสะดวกยิ่งขึ้น เช่น
- เครื่องคิดเลขบนหน้าจอ: ฟังก์ชันการทำงานที่อัปเดตใหม่สำหรับการทำโจทย์คณิตศาสตร์
- เครื่องมือไฮไลท์: ช่วยให้ผู้สอบสามารถทำเครื่องหมายในข้อความที่สำคัญในส่วนการอ่านและการเขียน
- สมุดบันทึกดิจิทัล: สำหรับการจดบันทึกข้อมูลหรือคำนวณอย่างรวดเร็วระหว่างการสอบ
4.ความพร้อมสำหรับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยและการทำงาน
ข้อสอบ GED ยังคงมุ่งเน้นการทดสอบทักษะที่สำคัญสำหรับความสำเร็จในทั้งการศึกษาต่อในระดับสูงและการทำงาน โดยจะมีการเน้นในเรื่องของการคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
การเทียบวุฒิ GED กับวุฒิมัธยมปลายในประเทศไทย
เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษา TCAS69
อ้างอิงจากประกาศของ TCAS68 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เรื่อง “เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาตามระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา” สำหรับนักเรียนที่จบจากต่างประเทศหรือผู้ที่ใช้วุฒิ GED ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย มีรายละเอียดดังนี้
1.กรณีสอบ GED ครบทุกวิชา
- นักเรียนที่สอบ GED และผ่านครบทั้ง 4 วิชา โดยคะแนนในแต่ละวิชาไม่น้อยกว่า 145 คะแนน จะสามารถขอเอกสารเพื่อเทียบวุฒิการศึกษาได้
- ขั้นตอน:
- ไปที่เว็บไซต์ https://hsces.atc.chula.ac.th/ เพื่อขอ ใบรับรองเทียบวุฒิการศึกษา (Equivalence Certificate)
- ขอ ใบเทียบผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX Equivalence Certificate)
- เอกสารเหล่านี้จะใช้เป็นหลักฐานในการลงทะเบียนระบบ TCAS69 และสำหรับการสมัครรอบ 3 Admission
- ระยะเวลาในการออกเอกสาร: 7 วันทำการ
2.กรณีสอบ GED ยังไม่ครบทุกวิชา
- หากสอบผ่าน GED เพียงบางวิชา (ไม่น้อยกว่า 2 วิชา) และมีแผนที่จะสอบวิชาที่เหลือให้ครบภายในเดือนเมษายน สามารถขอใบรับรองเทียบวุฒิการศึกษา แบบชั่วคราว (Provisional Equivalence Certificate) ได้
- ขั้นตอน:
- ไปที่เว็บไซต์ https://hsces.atc.chula.ac.th/ เพื่อกรอกข้อมูลและอัปโหลดรูปใบรับรองแทนใบเทียบวุฒิการศึกษา
- ในกรณีนี้ ให้กรอก GPAX เป็น 0.00 และอัปโหลดใบแทนใบรับรองเพื่อเข้าสู่ระบบ
- ระยะเวลาในการออกใบรับรองชั่วคราว: 3 วันทำการ
ทั้งนี้ เมื่อสอบครบทุกวิชาและได้รับใบรับรองเทียบวุฒิการศึกษาแล้ว นักเรียนจะสามารถใช้วุฒิ GED ในการสมัครมหาวิทยาลัยในประเทศไทยตามระบบ TCAS69 ได้ตามปกติ
GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง ?

คณะในมหาวิทยาลัยไทยที่รับ GED
หลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทยยอมรับผลการสอบ GED (General Educational Development) สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในคณะต่างๆ ดังนี้
1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาคไทย รับเข้าศึกษาใน 12 คณะ
- คณะอักษรศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะครุศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
- คณะรัฐศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- คณะจิตวิทยา
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะนิเทศศาสตร์
- สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
ภาคอินเตอร์ รับเข้าศึกษาใน 12 คณะ
- คณะอักษรศาสตร์ ภาคอินเตอร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม หรือ BALAC
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือ BBA
- คณะจิตวิทยา หลักสูตรอินเตอร์ หรือ JIPP
- คณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายธุรกิจและเทคโนโลยี หรือ LLBel
- คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา หรือ PGS
- คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ หรือ BAscii
- คณะนิเทศศาสตร์ หรือ BCM
- คณะเศรษฐศาสตร์ หรือ EBA
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทั้ง INDA ละ CommDe
- สถาบันวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ หรือ ISE
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ ChPE
- คณะวิทยาศาสตร์ BBTech, BSAC และ BISTECH
2.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคไทย รับเข้าศึกษาใน 13 คณะ เช่น
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- คณะศิลปศาสตร์
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์
- คณะรัฐศาสตร์
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
- คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- วิทยาลัยนวัตกรรม
- วิทยาลัยสหวิทยาการ
- วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วยอึ๊งภากรณ์
ภาคอินเตอร์ รับเข้าศึกษาใน 15 คณะ เช่น
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือ BBA
- คณะเศรษฐศาสตร์ หรือ BE
- คณะนิติศาสตร์ กฎหมายธุรกิจ หรือ LLB
- คณะสังคมสงเคราะห์ สาขาวิชานโยบายสังคมและการพัฒนา หรือ SPD
- คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการสื่อสารเชิงธุรกิจ หรือ BC และ สาขาวิชาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา หรือ BAS
- คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองและการระหว่างประเทศ หรือ BIR
- คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อศึกษา หรือ BJM
- วิทยาลัยสหวิทยาการ สาขาวิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ หรือ PPPE
- วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ (PBIC)
- วิทยาลัยนวัตกรรม หลักสูตรนวัตกรรมการบริการ หรือ BSI
- วิทยาลัยโลกคดีศึกษา สาขาวิชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม หรือ GSSE
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติและสองสถาบัน หรือ TEP-TEPE
- สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง สาขาวิชาการจัดการออกแบบธุรกิจและเทคโนโลยี หรือ DBTM
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (CICM)
3.มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาคไทย รับเข้าศึกษาใน 2 คณะ
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
- คณะศิลปศาสตร์
ภาคอินเตอร์ รับเข้าศึกษาใน 5 คณะ
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน (Bachelor of Arts Program in Chinese)
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Bachelor of Science Program in Information and Communication Technology)
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล MUIC รับเข้าศึกษาใน 17 สาขา
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
- สาขาวิชาการเงิน
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสร้างสรรค์
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
- สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร
- สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
- สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกิจการทั่วโลก
- สาขาวิชาวัฒนธรรมนานาชาติศึกษาและภาษา
- สาขาวิชาผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเดินทางและธุรกิจ
4.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภาคไทย รับเข้าศึกษาใน 19 คณะ
- คณะเกษตร
- คณะประมง
- คณะวนศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะสังคมศาสตร์
- คณะสัตวแพทยศาสตร์
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะบริหารธุรกิจ
- คณะเทคนิคการสัตวแพทย์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะสิ่งแวดล้อม
- คณะแพทยศาสตร์
- คณะพยาบาลศาสตร์
- วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์
- วิทยาลัยการชลประทาน
ภาคอินเตอร์ รับเข้าศึกษาใน 7 คณะ
- คณะเกษตร สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน หรือ B.S.
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร หรือ B.S.
- คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ หรือ B.A.
- คณะบริหารธุรกิจ
ทั้งนี้ยังมีมหาวิทยาลัยอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถเช็คเกณฑ์คะแนนการรับของแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยได้ที่ https://course.mytcas.com/
วิธีเตรียมตัวสำหรับการสอบ GED ปี 2025
1.ศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของข้อสอบ
เริ่มต้นด้วยการทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างข้อสอบและเนื้อหาที่จะสอบ โดยสามารถดูรายละเอียดจากแนวทางที่ทาง GED Testing Service ให้ไว้
2.ฝึกทำข้อสอบในรูปแบบใหม่
การฝึกทำข้อสอบในรูปแบบใหม่ๆ จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อนลงสนามจริง
3.เสริมทักษะพื้นฐาน
ฝึกฝนทักษะพื้นฐานในวิชาต่างๆ เช่น
- คณิตศาสตร์: ฝึกพีชคณิต, เรขาคณิต, และการแก้ปัญหาด้วยคำถามที่เกี่ยวกับข้อมูล
- RLA: ฝึกการทำความเข้าใจข้อความ การใช้ไวยากรณ์ และการเขียนเรียงความ
- สังคมศึกษาและวิทยาศาสตร์: ทบทวนแนวคิดสำคัญและฝึกการตีความข้อมูลจากกราฟ
4.ใช้เครื่องมือฝึกฝนดิจิทัล
ฝึกทำข้อสอบในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้เครื่องมือ เช่น เครื่องคิดเลขบนหน้าจอและเครื่องมือไฮไลท์ เพื่อให้คุ้นเคยและประหยัดเวลาในการสอบจริง
5.จัดทำแผนการเรียน
ตั้งเป้าหมายที่เป็นจริงและจัดตารางการเรียนที่เหมาะสมสำหรับแต่ละวิชา
เรียน GED ที่ไหนดี?
GED FAST TRACK
ตัวช่วยเตรียมตัวสอบ GED ใน 1 ปี ครบ 4 วิชา คัดสรรเนื้อหาพร้อมสอบ รวมเนื้อหา 120 ชม. อายุคอร์ส 1 ปี
มาพร้อมเครื่องมือช่วยสอบติดแบบจัดเต็มในคอร์สเดียว
กิจกรรมอัพคะแนน TEST BANK
- คลังข้อสอบเพื่อฝึกทำโจทย์
ข้อสอบ GED READY
- วิชาละ 7 ชุด รวม 28 ชุด
แพลนการเรียน GED PLANNER
- วางแผนการเรียนกับ Expert Counselor