หมอเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน และเป็นอาชีพที่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตได้ อีกทั้งยังได้นำความรู้ความสามารถที่มีไปใช้ช่วยเหลือผู้คนอีกมากมาย เพราะฉะนั้นการจะมีความรู้ที่ดีจึงต้องลงทุนกับการศึกษาเพื่อเลือกสถาบันให้กับตัวเอง อย่างการเลือกเรียนหมอต่างประเทศ ซึ่งวันนี้พี่จะมาแนะนำน้องๆ ที่กำลังสนใจจะศึกษาต่อด้านคณะแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ ได้ทราบถึงข้อควรรู้ และคัดมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ดีที่สุดในโลกของแต่ละประเทศมาให้เลือกแล้วในบทความนี้
เรียนหมอที่ต่างประเทศต่างจากเรียนในไทยอย่างไร
การเรียนต่อหมอต่างประเทศ จะช่วยสร้างโอกาสที่ดีให้กับตัวเองได้ เพราะระบบการศึกษาที่ได้มาตรฐานระดับโลก จะช่วยขัดเกลาฝีมือและทักษะของเราให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน ซึ่งระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ จะมีเนื้อหาการเรียนรู้ที่เน้นทักษะด้านปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี และมีกระบวนการคัดเลือกที่เข้มงวดกว่า ซึ่งการสอบคัดเลือกอาจเน้นทักษะทางวิชาการและบุคลิกภาพอีกด้วย
ซึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกข้อ อาจเป็นเรื่องของค่าใช้จ่าย ที่ต้องมีการวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการเลือกสถาบันศึกษาในต่างประเทศ เช่น ค่าเทอม ค่าเดินทาง และค่าครองชีพ
ข้อควรรู้ก่อนเรียนหมอที่ต่างประเทศ
ก่อนจะเริ่มศึกษาคณะแพทยศาสตร์ที่ต่างประเทศ สิ่งสำคัญคือการทราบข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรและเงื่อนไขในการเข้าศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ เสียก่อน เพราะจะช่วยลดอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในการติดต่องานเอกสารต่างๆ ได้
เป็นมหาวิทยาลัยที่แพทยสภาไทยรับรองหรือไม่
มหาวิทยาลัยที่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาไทย คือ การที่นักศึกษามีสิทธิ์ทำเรื่องขึ้นทะเบียนกับแพทยสภาก่อนที่จะไปเรียนหมอในประเทศต่างๆ เพื่อยืนยันสิทธิ์ในการกลับมาสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ไทยได้ แต่หากหลักสูตรยังไม่ได้การรับรอง อาจต้องฝึกงานเพิ่มเติม จึงจะมีสิทธิ์ในการสอบ ศรว. (ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา) ได้
วุฒิได้รับรองจากองค์กรทางการแพทย์ USA / UK / EU หรือไม่
นอกจากการรับรองจากประเทศไทยแล้ว ก่อนศึกษาต่อที่ต่างประเทศ เราจะต้องตรวจสอบการรับรองสิทธิ์จาก องค์กรระดับโลก เช่น สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, สหภาพยุโรป และอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งจะช่วยบ่งบอกถึงคุณภาพของการยอมรับในระดับสากล และใช้ต่อยอดในโอกาสด้านการทำงานในอนาคตได้อีกด้วย
ค่าเทอมกับค่าครองชีพ
การเรียนหมอต่างประเทศ ค่าเทอมอาจมีความแตกต่างเมื่อเทียบกับการศึกษาในสถาบันของประเทศไทย ดังนี้
- ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อเมริกา, ออสเตรเลีย, อังกฤษ ค่าเทอมเฉลี่ย 1,800,000 บาท /ปี
(ค่าครองชีพ สูงกว่าในประเทศไทย 2-4 เท่า)
- ประเทศโซนยุโรปกลาง เช่น โปแลนด์ ค่าเทอมเฉลี่ย 400,000-500,000 บาท /ปี
(ค่าครองชีพ ใกล้เคียงกับในจังหวัดกรุงเทพ)
- ประเทศโซนเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ค่าเทอมเฉลี่ย 150,000-250,000 บาท /ปี
(ค่าครองชีพ น้อยกว่าหรือใกล้เคียงกับในประเทศไทย)
มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษจริงไหม
การศึกษาคณะแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ จะต้องใช้ภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร แต่ก็มีบางประเทศที่ไม่ได้ใช้ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเปิดสอนหลักสูตร แต่จะเป็นแค่ขั้น Basic Science เท่านั้น เมื่อขึ้นระดับ Clinic แล้ว ก็อาจต้องใช้ทั้งภาษาถิ่น และภาษาอังกฤษควบคู่กันไปด้วย
เรียนถึงชั้นคลินิกมีฝึกกับคนไข้ไหม
โดยส่วนใหญ่กฎหมายในต่างประเทศจะมีการคุ้มครองผู้ป่วยที่เข้มงวดมาก จึงอาจทำให้นักศึกษาไม่ได้รับประสบการณ์ด้านการปฏิบัติอย่างเต็มที่ จึงควรเลือกดูมหาวิทยาลัยที่ให้สิทธิ์การฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อย่างเช่น มหาวิทยาลัยในประเทศโปแลนด์ เป็นต้น
สถิติในการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพ
ในปัจจุบันจำเป็นต้องสอบใบประกอบวิชาชีพของประเทศที่เราต้องการทำงานให้ผ่านทุกขั้นตอน ค่าสถิติการสอบผ่าน จึงเป็นตัววัดมาตรฐานการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพและมาตรฐานของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ที่แสดงถึงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยและหลักสูตรการเรียนการสอนได้
ตัวอย่างอัตราการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพแพทย์ (Poznan University of Medicine Sciences)
- อัตราการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพแพทย์สหรัฐอเมริกา ขั้นที่ 1 USMLE 85%
- อัตราการสอบผ่าน ศรว. ของประเทศไทย 100%
เรียนหมอต่างประเทศที่ไหนดี
สถาบันคณะแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ มีด้วยกันหลายสถาบัน ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาที่จะเน้นทางด้านปฏิบัติที่มีเทคโนโลยีและทรัพยากรรองรับอย่างเหมาะสม มากกว่าการเน้นทฤษฎี โดยสามารถใช้ทุนสำหรับการศึกษาในต่างประเทศ ที่จะเอื้อประโยชน์และมอบโอกาสที่ดีให้กับนักศึกษาได้ เช่น มหาวิทยาลัยอื่นๆ ใน 6 ประเทศ ที่จะพูดถึงในหัวข้อต่อไปนี้
1. ประเทศสหรัฐอเมริกา
การศึกษาแพทย์ที่ประเทศอเมริกา จะต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บางที่กำหนดสาขา บางที่ไม่กำหนด) เพื่อใช้ยื่นสอบ MCAT (ข้อสอบสำหรับใช้ยื่นศึกษาในมหาวิทยาลัยแพทย์) จากนั้นจึงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแพทย์อีก 4 ปี ก่อนจะได้รับวุฒิ Doctor of Osteopathic Medicine (D.O.) หรือวุฒิ Doctor of Medicine (M.D.) และหลังจากได้รับวุฒิ D.O. หรือ M.D. มาแล้ว จึงสามารถใช้วุฒินี้ ยื่นสอบใบประกอบวิชาชีพได้ และต้องมีการศึกษาแพทย์วิชาชีพเพิ่มอีก 3-8 ปี (ขึ้นอยู่กับประมวลกฎหมายของรัฐนั้นๆ) จึงสามารถเริ่มทำงานในอาชีพหมอได้
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University)
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับระดับโลก มีคณาจารย์และนักศึกษาที่มีความสามารถสูง โดยมีหลักสูตรและวิชาการที่หลากหลายให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะคณะแพทย์ชื่อดังที่มีผลงานวิจัยและการศึกษาที่เชื่อถือได้ และได้รับรางวัลด้านต่างๆ มากมาย อย่างรางวัลโนเบล และรางวัลพูลิตเซอร์ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ดีที่สุดในโลก
มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania)
มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) เป็นหนึ่งใน 10 มหาวิทยาลัยแพทย์ที่ดีที่สุดของโลก ซึ่งมีการเรียนการสอนที่เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ในปฏิบัติจริง โดยมีเกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี 3.9 CGPA เน้นในการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพการศึกษาทางการแพทย์ โดยมีคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถในสาขาต่างๆ และมีเนื้อหาการเรียนรู้ที่อัปเดตตามความก้าวหน้าของวงการแพทย์ มีการเสนอหลักสูตรทางการแพทย์ที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาและระดับปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California, San Francisco)
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California, Los Angeles หรือ David Geffen School of Medicine at UCLA) คือ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับที่ 6 ในสหรัฐอเมริกา โดยมีเกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี 3.82 CGPA เป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์และสาขาที่เกี่ยวข้อง มีหลักสูตรที่ครอบคลุมทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ มีศูนย์การศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ที่สนับสนุนการสร้างความรู้ในสาขาต่างๆ และการวิจัยที่เน้นการแก้ปัญหาทางการแพทย์และสุขภาพ เน้นในการพัฒนาทักษะทางคลินิกและการสร้างประสบการณ์ในการทำงานจริงให้กับนักศึกษาผ่านการฝึกปฏิบัติที่โรงพยาบาลและสถานพยาบาลต่างๆ
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (University of California, Los Angeles)
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (University of California, Los Angeles) มีเกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรี 3.85 CGPA โดยหลักศุตรการศึกษาจะเน้นการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ในเชิงปฏิบัติและทฤษฎีควบกันไป
มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ (Johns Hopkins University)
มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) มหาวิทยาลัยด้านการวิจัยแห่งแรก ซึ่งมีแพทย์ที่จบการศึกษาชื่อดังมากมาย เช่น Florence R. Sabin และ Walter Dandy โดยมี GPA เฉลี่ย 3.94 CGPA มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์มีคณาจารย์และนักวิจัยที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในหลายสาขาวิชา โดยมีผลงานวิจัยที่สร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการแพทย์และวิทยาการสุขภาพ อีกทั้งมีโรงพยาบาล สถานบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานสูง เพื่อการฝึกปฏิบัติและการเรียนรู้ของนักศึกษาในสาขาการแพทย์และวิทยาการสุขภาพ
มหาวิทยาลัยเยล (Yale University)
มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่เน้นการเรียนการสอนที่หลากหลายและการศึกษาในสาขาต่างๆ โดดเด่นด้านการศึกษา การวิจัยและการดูแลผู้ป่วย และมีชื่อเสียงด้านห้องสมุดประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ที่ยิ่งใหญ่แห่ง
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology)
สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ เน้นการศึกษาในห้องปฏิบัติการ และเทคโนโลยีประยุกต์ในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
2. ประเทศออสเตรเลีย
ประเทศออสเตรเลีย มีมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ดีและมีชื่อเสียงอยู่มากมาย โดยทั่วไประดับปริญญาตรีจะใช้เวลาในการศึกษา 5-6 ปี และจะได้รับวุฒิ Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้วุฒิ ม.6 ในการยื่นสอบแอดมิชชันสำหรับนักเรียนต่างชาติที่อยากมาเรียนในออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีข้อสอบ UMAT ที่เป็นข้อสอบเฉพาะสำหรับนักเรียน ป.ตรีแพทย์ ในออสเตรเลียอีกด้วย
มหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University)
มหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในออสเตรเลีย มีชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านงานวิจัยและความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยมีคณะแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีโปรแกรมการศึกษาที่เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้
มหาวิทยาลัยแอดิเลด (University of Adelaide)
มหาวิทยาลัยแอดิเลด (University of Adelaide) เป็นหนึ่งในสมาชิกมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการวิจัยของ Group of Eight ประเทศออสเตรเลีย โดยงานวิจัยส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เหนือกว่าหรือดีกว่ามาตรฐานระดับสากล โดย Australian Research Council’s Excellence in Research Australia อีกด้วย
3. ประเทศนิวซีแลนด์
หลักการคล้ายกันกับประเทศอื่นๆ ซึ่งการศึกษาจะต้องมีวุฒิปริญญาตรี (สำหรับนักเรียนไทยต้องจบปี 1 ระดับ ป.ตรี) จากนั้นจึงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแพทย์อีก 6 ปี ก่อนจะได้รับวุฒิ Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery (MB ChB) และหลังจากได้รับวุฒิมาแล้ว ต้องใช้วุฒินี้ เพื่อศึกษาแพทย์วิชาชีพเพิ่มเติม และสอบใบประกอบวิชาชีพ หลังจากนั้นจึงสามารถเริ่มทำงานในอาชีพหมอได้
มหาวิทยาลัยออกแลนด์ (University of Auckland)
มหาวิทยาลัยออกแลนด์ (University of Auckland) เป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศนิวซีแลนด์ ที่ติดอันดับ 1 ใน 100 อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก (การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกปี 2023 โดย QS) มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในฐานะสถาบันการศึกษาระดับชั้นนำของโลกด้วยจำนวนนักศึกษา 46,048 คนใน 7 วิทยาเขตหลัก
4. ประเทศแคนาดา
หลักการคล้ายๆ กันกับประเทศอเมริกา แต่ประเทศแคนาดาจะมีความแตกต่างในด้านกฎเกณฑ์ของคุณสมบัติที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี จึงต้องหาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนทุกครั้ง ซึ่งการศึกษาจะต้องมีวุฒิปริญญาตรี จากนั้นจึงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแพทย์อีก 5-6 ปี ก่อนจะได้รับวุฒิ Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery (MB ChB) และหลังจากได้รับวุฒิมาแล้ว ต้องใช้วุฒินี้ เพื่อศึกษาแพทย์วิชาชีพเพิ่มเติม และสอบใบประกอบวิชาชีพ หลังจากนั้นจึงสามารถเริ่มทำงานในอาชีพหมอได้
มหาวิทยาลัยแมนิโทบา (Max Rady)
มหาวิทยาลัยแมนิโทบา (Max Rady) มหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย 1 ใน 20 อันดับ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ได้รับรางวัล Synergy Awards for Innovation จำนวน 8 รางวัล จาก Natural Sciences and Engineering Research Council เป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัย รวมถึงได้รับการจัดอันดับให้เป็น Top 20 in Best Global Universities in Canada จาก U.S. News & World Reports 2022 อีกด้วย
5. สหราชอาณาจักร
การศึกษาแพทย์ที่สหราชอาณาจักร มีระบบการเรียนการสอนที่คล้ายกับประเทศไทย โดยมีหลักสูตร 6 ปี (แต่สำหรับนักเรียนไทยจะต้องใช้คะแนน A-Level หรือมีการเรียนคอร์สปรับพื้นฐานก่อน) และเมื่อผ่านการทดสอบ UKCAT หรือ BMAT (แล้วแต่มหาวิทยาลัยว่าใช้แบบไหน) จึงสามารถเข้าศึกษาและรับวุฒิหลังสำเร็จการศึกษา Bachelor of Medicine and Bachelor of Surgery ( MBBS/MBChB) และศึกษาโปรแกรมหลักสูตร Foundation program 2 ปี และเข้ารับการฝึกแพทย์เฉพาะทาง หลังจากนั้นจึงสามารถประกอบอาชีพแพทย์ได้
มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford)
มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับ 2 ของมหาวิทยาลัยการแพทย์ที่ดีที่สุดในโลก โดยมี 2 หลักสูตรหลัก คือ แพทยศาสตร์ และศัลยกรรม ระบบการศึกษาถือว่าดีที่สุด รองจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
วิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน (Imperial College London)
วิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน (Imperial College London) ติดอันดับ 6 ของมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ดีที่สุดในโลก โดยเน้นพัฒนาบุคลากรการแพทย์ ปัจจุบันบุคลากรของวิทยาอิมพีเรียล ได้รับรางวัลโนเบลมาแล้ว 15 รางวัล เน้นพัฒนาบุคลากรการแพทย์ รวมถึง วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และธุรกิจอีกด้วย
มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน (University College London)
มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน (University College London) เป็นมหาวิทยาลัยที่ติด 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยแพทย์ที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งหลักสูตรจะเน้นการศึกษาทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ และมีโปรแกรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เป็นศูนย์กลางในการศึกษาด้านการแพทย์และวิทยาการสุขภาพ ทำงานกับกลุ่มวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในหลายด้าน เช่น การรักษาโรค การวิจัยทางชีวภาพ และการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ มีผลงานวิจัย นวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาด้านสุขภาพและการแพทย์ มีการทำงานร่วมกับองค์กรและภาคเอกชนเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ในสหราชอาณาจักร และติดอันดับ 3 มหาวิทยาลัยแพทย์ที่ดีที่สุดในโลก มีความโดดเด่นด้านการเรียนการสอน การฝึกเวชปฏิบัติ และการวิจัย
6. ประเทศต่างๆ ในยุโรป
ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปจะมีข้อตกลงร่วมกันทางด้านการศึกษา ที่จะช่วยเอื้อประโยชน์สำหรับนักเรียนที่ต้องการศึกษาวิชาชีพแพทย์ โดยส่วนมากจะรับวุฒิ ม.6 โดยจะมีการสอบแอดมิชชัน (เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ) หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย 6 ปี และเข้าฝึกอบรมเพิ่มเติมอีก ก่อนสอบใบประกอบวิชาชีพอาชีพ
สถาบันแคโรลินสกา (Karolinska Institutet)
สถาบันแคโรลินสกา (Karolinska Institutet) มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ในประเทศสวีเดน เป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์เฉพาะทางที่ใหญ่ที่สุด และมีชื่อเสียงจนติด 10 อันดับมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ที่ดีที่สุดในโลก โดยสถาบันแห่งนี้มีการเป็นภาษาอังกฤษทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทอีกด้วย อีกทั้งยังมีผลงานวิจัย นวัตกรรมที่มีผลสำคัญต่อการพัฒนาทางการแพทย์ จากการวิจัยร่วมกันของคณาจารย์ นักศึกษา และภาคเอกชน
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ติดอันดับ 5 มหาวิทยาลัยแพทย์ที่ดีที่สุดในโลก ถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแพทย์ที่เข้าศึกษายากที่สุดของประเทศ โดยมีอัตราการรับเข้า คิดเป็น 2.5% เท่านั้น โดยหลักสูตรการศึกษาแพทย์ได้รับการยอมรับจากสากลและมีผู้เรียนจากทั่วโลกเข้ารับการศึกษาที่นี่ มีคณาจารย์และนักวิจัยที่นี่มีความเชี่ยวชาญในหลายสาขา เช่น วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ พันธุศาสตร์ โรคติดเชื้อ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ และอื่นๆ ที่ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางของการวิจัยทางการแพทย์
7. ประเทศต่างๆ ในเอเชีย
มหาวิทยาลัยการแพทย์หลายแห่งในเอเชียมีชื่อเสียงในด้านมาตรฐานการศึกษาระดับสูงและหลักสูตรการศึกษาที่เข้มงวดไม่แพ้มหาวิทยาลัยโซนยุโรป แน่นอนว่าจะต้องมีคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงและสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือที่ล้ำสมัย เพื่อให้มั่นใจว่านักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และเมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ในประเทศตะวันตก การเรียนในเอเชียนั้นมีราคาถูกกว่า โดยทั่วไปค่าเทอมและค่าครองชีพในเอเชียจะต่ำกว่า ทำให้เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่า
มหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo)
มหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo) มีความเชี่ยวชาญในการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ พร้อมสำหรับการศึกษาและการฝึกฝนในสาขาต่างๆ รวมถึงห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยและเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนหรือวิจัย อีกทั้งมหาวิทยาลัยโตเกียวยังทำงานร่วมกับสถานพยาบาลและองค์กรทางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงในการปฏิบัติงานทางการแพทย์และดูแลผู้ป่วย
มหาวิทยาลัยเนชั่นแลนด์ (National University of Singapore)
มหาวิทยาลัยเนชั่นแลนด์ (National University of Singapore) เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำและมีชื่อเสียงระดับสากลที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์ มีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์และสุขภาพ เน้นการส่งเสริมนักศึกษาให้มีทักษะทางวิชาชีพ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ มีการทำงานวิจัยที่เน้นการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญในระดับสากล โดยมีการร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในด้านการวิจัย
มหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong)
มหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong) คณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮ่องกงมีความเชี่ยวชาญ และวิจัยทางการแพทย์ เน้นการส่งเสริมการเรียนรู้แบบครอบคลุมและการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพในนักศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการในอุตสาหกรรมการแพทย์ มีการนำเสนอเนื้อหาการเรียนรู้ที่อัปเดตตามข่าวสารและการพัฒนาทางการแพทย์ล่าสุด มหาวิทยาลัยฮ่องกงได้ทำงานร่วมกับสถานพยาบาลและโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงในฮ่องกงและรอบๆ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์การฝึกปฏิบัติและการดูแลผู้ป่วยจริง
สรุป
การศึกษาต่อด้านแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ แตกต่างจากการศึกษาในไทยหลายอย่าง ซึ่งการเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง ก็จะมีความซับซ้อนที่มากขึ้นไปอีกขั้น จึงควรศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนตัดสินใจเลือกสถาบันต่างๆ ซึ่งการเตรียมตัวที่ดีที่สุดคือการอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และสอบวัดผลความรู้ความสามารถนั้นๆ ว่าตัวเรามีศักยภาพมากพอที่จะศึกษาต่อในสถาบันที่ต้องการแล้วหรือยัง และถ้ากำลังมองหาที่ปรึกษาหรือคำแนะนำ Interpass เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ทั้งในไทย & ต่างประเทศ