บทสัมภาษณ์จากแขกรับเชิญพิเศษ พี่ไบร์ท ปนรรฐพร ตังกวย: นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี หลักสูตร M.D. – M.M. 7 ปี ศิษย์เก่าคนเก่งของ InterPass ที่หลังจากสอบติดจนถึงตอนนี้ก็ได้กลายเป็นนักศึกษาปี 2 แล้ว ในรอบนี้ จึงมาพูดคุยย้อนกันไปถึงการเลือกเรียนหมอ ว่าพอเรียนจริงๆ แล้วเนี่ย การใช้ชีวิตใน 1 ปีที่ผ่านมาเป็นยังไงกันบ้าง? 🙂
ประสบการณ์ เตรียมสอบหมอ รามาฯ รอบ 1
ทำไมถึงอยากเป็นหมอ ทำไมถึงเลือกรอบ 1 เพราะจริงๆ เราอยู่ รร. ไทย?
ตอน ม.4 ค่ะ เป็นช่วงที่เราเล่นๆ แล้วลองไปทำจิตอาสาที่ รพ. จุฬาฯ ตอนนั้นจริงๆ ก็หนูชอบวิทยาศาสตร์ และชอบดูแลคนอื่นมาตั้งแต่ม.ต้นแล้วค่ะ ก็รู้สึกว่าข้างในมันโต มัน shine มัน Full Feel ตอนนั้นก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นค่ะว่าทำไมเราถึงอยากเป็นแพทย์ แต่ชัดสุดจริงๆ เลยตอน ม. 6 ค่ะ คือหนูไปแพทย์ชนบทที่จังหวัดกาญจนบุรี เดินทางด้วยรถ 4 ชม ต่อไปอีก 1 ชม. และต่อเรืออีก 30 นาที ค่อนข้างกันดาน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา แค่พื้นฐานยังไม่มี แล้วเรื่องการแพทย์ไม่ต้องพูดถึงเลย แบบคนเขาป่วยทีกว่าจะออกมาได้ ค่อนข้างลำบาก ตอนนั้นหนูไปเดินตามดูคุณหมอ เขามีความรู้ ณ ตรงนั้นเลย สามารถรักษาได้เลย เป็นจุดประกายที่ทำให้หนูอยากเรียนแพทย์ หลังจากนั้นเราก็ดูสาธารณูปโภคยังเข้าไม่ถึง ระบบสาธารณะสุขไม่ดีอีก มันน่าจะเป็นองค์รวมที่น่าจะต้องไปด้วยกันทั้งหมด ที่จะรักษาให้คนๆ หนึ่งสามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ พอกลับมารามาฯ ก็ประกาศหลักสูตรใหม่นี้ขึ้นมา M.D.-M.M. หนูก็เลยรู้สึกว่าค่อนข้างตรง เพราะตอนแรกยังลังเลว่าจะเป็น Engineering พอมีหลักสูตร M.D.-M.M. ค่อนข้างตรงทาง ก็คิดว่า Track นี้ใช่เลย ก็เลยมาเป็นรอบ 1 ค่ะ
“ประสบการณ์ตรงนี้สามารถเอาใช้ในการเขียน Personal Statement
ตั้งแต่เริ่มทำ Portfolio มีคำถาม 3 ข้อค่ะ คือ เหตุผล แรงจูงใจ เป้าหมายในอนาคต
เราก็เอาประสบการณ์ส่วนตัวนี้ไปใช้ให้กรรมการเขาจำเราได้”
การเรียนแพทย์ 6 ปี ค่อนข้างท้าทายและยาก ขนาดหนูเพิ่งอยู่ปี 1 หนูรู้สึกว่าวิชามันเริ่มเยอะ แล้วต้องจำเยอะ ถ้าสมมติว่าความตั้งใจของเราหรือเป้าหมายของเรามันไม่ใหญ่พอ พอเรียนไปแล้วจะเริ่มท้อ หมดไฟ ถ้าเราได้ไปเจอก่อน ได้หาตัวเอง รู้ว่าอะไรที่เราอยากทำจริงๆ มันจะช่วยให้เราในการเตรียมตัวเข้าแพทย์และเรียนไปอีก 6-7 ปี
วางแผนการเตรียมคะแนน IELTS & BMAT?
หนูเริ่ม IELTS ก่อนค่ะตอน ม.5 ปลายๆ เทอม ก็เรียนกับ InterPass นี่แหละค่ะ 1 เดือนก่อนสอบหลังสอบไฟนอลเสร็จก็ลุยเตรียม IELTS เลย ทำโจทย์เองเพิ่ม 1 เดือน แล้วก็ Mock กับ InterPass ก็ไปสอบค่ะได้ IELTS 7.0 มาในช่วง ม.5 เทอม 2
เพราะมัวแต่เตรียม IELTS ทำให้ BMAT ได้เตรียมจริงๆ ก่อนสอบแค่ 3 วีค ตอนม.5 ได้คะแนนน้อยมากๆ เลยค่ะ ไม่สามารถยื่นเข้ารามาฯ ได้ จะต้อง 12c ขึ้นไป พอม.5 ไม่ได้แล้วก็เหลือโอกาสเดียวคือตอน ม.6 ก็เตรียมตั้งแต่ เม.ย. เตรียมประมาณ 6 เดือน คะแนนก็ขึ้นมาจนยื่นได้ จริงๆ ก็ยื่นจุฬาฯได้ แต่อยากเข้ารามาฯ แนะนำให้เตรียมตั้งแต่เนิ่นๆ ค่ะตั้งแต่ ม.5 ถ้าได้คะแนนดีแล้วก็ยังมีโอกาสอัพคะแนนอีกตอน ม.6 หรือเอาเวลาที่เหลือไปเตรียมส่วนอื่นๆ ได้
เข้าหมอรอบ 1 ใน 5 เดือน ด้วย BMAT
อ่านหนังสือเตรียมสอบ BMAT วันละกี่ ชม.?
ตอนเช้าทำโจทย์ น่าจะ 2 ชุด/วัน ค่ะ 2 ปีรวดในช่วงใกล้ๆ สอบ ที่สำคัญเลยต้องจับเวลาทำโจทย์ ถ้าทำแต่โจทย์แล้วปล่อยเวลาไป มันไม่มีประสิทธิภาพ เพราะว่า BMAT เน้นเวลาและ Accuracy (ความแม่นยำ) ก็คือไบรท์ทำ 1 ชุด จับเวลา 2 ชม. หลังกินข้าว จะเป็น 1-3 pm แล้วก็พักแปปนึง เริ่ม 3:30-5:30 pm เพราะเราต้องทำตัวเองให้ชินกับเวลาสอบตอนบ่าย ตอนเย็นก็จะมาดูชุดที่ 2 แล้วก็พักผ่อนแล้วก็ตื่นเช้ามาทำต่อ วนลูปแบบนี้ประมาณ 1 เดือนค่ะ
รวม Past Papers BMAT, IMAT และ TSA ย้อนหลัง 10 ปี
เทคนิคเตรียมพอร์ตและงานวิจัย?
- หลักสูตรคณะ
- พอร์ตต้องแสดงว่าเราทำอะไรมาเพื่อเป็นเราในวันนี้ แล้วเราจะเป็นยังไงในอนาคต
แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ
Medical Related – A plus for 21st century skills
Research & Projects งานวิจัย มีเผื่อไว้ อาจจะไม่ได้บังคับ แต่ถ้าคนอื่นมี เราก็ต้องมี!
Academic Achievement วิชาการ
Extracurricular Activities กิจกรรมต่างๆ ในและนอกโรงเรียน
Volunteer จิตอาสา Talents ความสามารถพิเศษ
Practical Choice! ที่น้องๆ สามารถทำได้เลย
1. Literature review “Did & Gained” หาหัวข้อที่สนใจแล้วเขียนออกมาเป็นความคิดเห็นเรา
2. การทำ Survey ทำออนไลน์ google form เก็บข้อมูลแล้วมาอ่านแล้ว Analyse ออกมาเป็นบทสรุปตามหัวข้อนั้นๆ
3. Project/ Lab ทดลอง assist อยากช่วยงานวิจัย
Journal High School Students: www.biotreks.org (มีค่าใช้จ่าย)
*ระวัง Predatory journal ไม่มี Standardized
ระวังเรื่องการเสียเงิน แต่มาตรฐานผลงานไม่ถึง ก็จะเป็นผลเสียมากกว่า จึงไม่จำเป็นต้องตีพิมพ์ก็ได้
แค่มองเห็นว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาแล้วเราอยากเปลี่ยนแปลงมัน เป็น Research Mind
จุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่มี value มากกว่าการทำๆ ไปแบบนั้นค่ะ
สัมภาษณ์แพทย์รามาฯ รอบ 1 (MMIs)
จริงๆ การเตรียมคำถามสัมภาษณ์ เขาจะวัดอยู่ 3 อย่างก็คือ Motivation ว่าอยากเป็นหมอจริงๆ หรือเปล่า ความเก่ง มีกระบวนการคิดมากน้อยแค่ไหน อย่างสุดท้ายก็คือไหวพริบ ความสามารถของเราที่จะทนต่อแรงกดดัน ว่าเราภูมิต้านทานในการจัดการตัวเองแบบนั้นได้ไหม สิ่งเหล่านี้ก็จะถูกวัดในการสัมภาษณ์ค่ะ โดยที่การสัมภาษณ์ของรามาฯ คำถามสัมภาษณ์จะมาในเชิงวัดความเป็นตัวเรา ดูว่าน้องมีความเป็น Rama DNA น้องอยากจะเข้ามา มีความสามารถในการทำงานกับคนอื่นได้ไหม มีความเป็นผู้นำไหม มี Growth Mindset มี Research Minded ไหม อันนี้จะถูกวัดผ่านการสัมภาษณ์ โดยมันจะมี 10 สเตชัน แต่ละสเตชันจะแตกต่างกันออกไป แบ่งเป็นประมาณ 4 ด้านค่ะ
1. Motivation ในการอยากเป็นหมอ อยากเรียน track นี้ มหา’ลัยนี้ด้วย
2. ความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้
3. Medical Dilemma ของหนูเรื่องนี้ยากสุด เป็นการตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ทางการแพทย์
4. ทัศนคติต่อสิ่งต่างๆ Perspective ทั่วไป
คิดว่าเรียนหลักสูตรไหนเรียนหนักกว่า ระหว่าง M.D.-M.M. กับ M.D.-M.Eng?
จริงๆ M.D. เรียนแพทย์ 6 ปี หนักอยู่แล้วค่ะไม่ว่าหลักสูตรไหน ส่วน M.M. ปี 1 ยังชิลอยู่ เทอม 1 จะเรียน Self Development & Leadership เทอม 2 เรียนเป็น Medical Anthropology ไปดูงานที่โรงพยาบาลดูแต่ละที่ว่าผู้บริหาร ทั้งโรงพยาบสลรัฐและเอกชน ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง หรืออาจารย์ที่เขาทำงานในกระทรวงเขามี Pathway ยังไงบ้าง
M.Eng. หนักอยู่เหมือนกันเพราะเรียนเป็น Engineer ต้องเรียนเพิ่มเนื้อหาทุกวันอาทิตย์ 6 ชม. เรียนเสริม อาจจะได้เรียนกับนักศึกษาวิศวะฯ คนอื่น สำหรับใครที่ชอบพวก Hardware/Software
ฝากถึงน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวและอยากเรียนแพทย์
น้องๆ ม.4 ยังมีเวลาเยอะมากมาก ตอบตัวเองให้ได้ อยากให้หาให้ได้ว่าอยากเป็นหมอ หรืออยากเป็นอะไร ตัดสินใจให้ได้ เพราะมันคืออนาคตของเรา อยากให้เลือกในสิ่งที่ชอบแล้วค่อยเริ่มเตรียมตัวลุยกับมัน
น้องๆ ม.5 ค่อยๆ ใกล้ขึ้น เหลือเวลา 1-1.5 ปี ถ้าตัดสินใจได้แล้ว รีบทำ ลงมือทำ ให้ตั้งใจแล้วทุ่มไปกับมัน มีวินัย พักได้บ้างและลุยต่อ พยายามมองเป้าหมายของเรา
น้องๆ ม.6 เหลือเวลา 7-8 เดือนข้างหน้า คงเตรียมตัวไว้เยอะแล้วแหละ คงพร้อมลุยกับเวลาที่เหลืออยู่ เพื่อที่ ก.พ. ปีหน้าวันที่ประกาศผล เราจะเจอชื่อเราอยู่บนใบประกาศ อยากให้นึกภาพความสำเร็จอันนั้นไว้แล้วทำให้ตัวเองไปถึงจุดนั้นให้ได้ สู้ๆ นะคะ 🙂
เกณฑ์คะแนนการรับแพทย์รามาฯ รอบ 1 TCAS65
จำนวนทั้งหมด 70 คน
1. หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต 30 คน
2. หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต-วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต 20 คน (M.D.-M.Eng)
3. หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต-การจัดการมหาบัณฑิต 20 คน (M.D.-M.M.)
คุณสมบัติการคัดเลือก
• ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นปีสุดท้ายหรือเทียบเท่าในระบบนานาชาติ
• สัญชาติไทย
• GPAX ≥ 3.50
• คะแนนกลุ่มภาษาอังกฤษ (คะแนนย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร)
– IELTS (Academic) ≥ 6.5 (ทุก Skill ≥ 6.0)
– TOEFL iBT ≥ 80
• คะแนน BMAT (คะแนนย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร)
– Section 1 Aptitude and Skills ≥ 4.5
– Section 2 Scientific Knowledge and Applications ≥ 4.5
– Section 3 Writing Task ≥ C
แฟ้มสะสมผลงาน (ภาษาไทยหรืออังกฤษ)
1. Personal Statement (≤ 5,300 words รวมช่องว่าง)
2. กิจกรรมหรือผลงานที่มีคุณค่าหรือความหมายมากที่สุดพร้อมรายละเอียด
จำนวน 3 กิจกรรม/ผลงาน (≤ 1,400 words รวมช่องว่าง)
3. กิจกรรมหรือผลงาน พร้อมรายละเอียด
จำนวน 12 กิจกรรม/ผลงาน (≤ 700 words รวมช่องว่าง)
4. หลักฐานของกิจกรรม pdf, jpeg หรือ Youtube ผลงานที่แสดงถึงตัวตน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ การเข้าร่วมกิจกรรม หรือรางวัลในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
5. แจ้งชื่อ-สกุล และ E-mail ของอาจารย์ในโรงเรียนที่เคยศึกษา
จำนวน 2 ท่าน
สอบสัมภาษณ์ MMIs (Multiple Mini Interviews)
เป็นยังไงกันบ้างคะ? ได้ไอเดียจากพี่ไบร์ทไปวางแผนการเตรียมตัวสอบเข้าหมอกันบ้างหรือเปล่า ใครรู้ตัวแล้วว่าอยากเป็นหมอ สู้ๆ นะคะ เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ต้น ค่อยๆ เก็บคะแนน ทำพอร์ต เหลือเวลากลับมาเช็ครายละเอียดให้พร้อมชัวร์ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ไม่เคยเรียนมาก่อนทั้ง IELTS BMAT เข้ามาปรึกษาการเรียนกับ InterPass ได้เลยนะคะ
ลงทะเบียนฟรี คลิกลิงก์ด้านล่างได้เลยนะคะ 🙂
InterPass อินเตอร์และหมอรอบ 1 ✈️ Line: @InterPass หรือ โทร. 089-9964256, 089-9923965