เชื่อเลยว่าน้องๆ คนไหนที่อยากเป็นหมอก็คงจะรู้สึกว่าความยากของการสอบเข้าหมอ คือในแต่ละปีมีคนที่สมัครสอบ กสพท. ไม่น้อยเลย ทำให้อัตราการแข่งขันสูงมาก แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการสอบหมออีกสนามหนึ่งที่เรียกว่ารอบ Portfolio หรือเรียกสั้นๆ กันว่าหมอรอบ 1 ขึ้นมา ซึ่งปรากฎว่าน้องๆ ให้ความสนใจกันอย่างท่วมท้นเลยทีเดียว เพราะจะเหลือวิชาที่ต้องสอบจาก 7 วิชาของกสพท. เหลือเพียงแค่ 2 วิชาเท่านั้น ก็คือ IELTS และ BMAT
หลายคนอาจยังสงสัยว่าข้อสอบ BMAT คืออะไร สอบยากไหม ควรเตรียมสอบ BMAT อย่างไร วันนี้ InterPass จึงขอพาน้องๆ มาทำความรู้จักกับ BMAT ให้มากขึ้น พร้อมตอบคำถาม 9 ข้อที่น้องๆ ถามกันมาบ่อยที่สุดเกี่ยวกับการสอบ BMAT เพื่อไขข้อข้องใจไปพร้อมๆ กัน!
BMAT คืออะไร?!
ข้อสอบ BMAT หรือ BioMedical Admissions Test หรือที่เรียกว่า BMAT คือ ข้อสอบที่จัดสอบโดย Cambridge Assessment เพื่อใช้เข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และทันตแพทยศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อปีการศึกษา 2560 หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดรับนักศึกษาแพทย์โดยการยื่นคะแนน BMAT เป็นปีแรก และในปีต่อๆ มาคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ได้เปิดรับนักศึกษาแพทย์โดยใช้คะแนน BMAT มากขึ้น
เรียกว่า คณะที่ยื่นคะแนน BMAT ได้ ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ในปัจจุบันมีความหลากหลาย และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี โดยคณะที่มักเปิดรับคะแนน BMAT เช่น แพทย์จุฬาฯ แพทย์รามาฯ แพทย์ขอนแก่น แพทย์เชียงใหม่ แพทย์ลาดกระบัง แพทย์ มศว. และ University of Nottingham (Joint Medical Programme) แพทย์ธรรมศาสตร์ (CICM) และ ทันตะฯ ธรรมศาสตร์ (CICM)
สำหรับแพทย์ ภาคไทยนั้น น้องๆ ต้องใช้ข้อสอบ BMAT คู่กับข้อสอบ IELTS ในการยื่นรอบ 1 และเตรียมพอร์ตหมอรอบ 1 ทั้งนี้ การยื่นคะแนน BMATเป็นการเข้าด้วยโครงการความสามารถพิเศษทางภาษาอังกฤษ แต่พอเข้าไปแล้วก็เรียนกับเพื่อนๆ ที่สอบเข้า รอบ 3 กสพท. โดยที่ไม่มีการเรียนที่แตกต่างกัน
BMAT สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ BMAT ประกอบด้วย 3 Sections ใช้เวลาสอบทั้งหมด 2 ชั่วโมง โดยมีรายละเอียดดังนี้
Section 1: Aptitude and Skills
เป็นข้อสอบปรนัย (ชอยส์) 32 ข้อ ใช้เวลา 60 นาที คะแนนเต็ม 9 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นข้อสอบ 2 ประเภท ได้แก่ Problem Solving การแก้ปัญหาโดยใช้ทักษะคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และ Understanding Argument ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ในการหาข้อผิดพลาดจากการอ้างเหตุผล (Argument) ที่โจทย์ให้มา รวมถึงใช้ทักษะวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) จากหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ (Text) สถิติ (Stat) หรือ กราฟ (Graph) เป็นต้น
จุดประสงค์ของการสอบใน Section นี้ของ BMAT คือการวัดการแก้ปัญหาเชาว์ การคำนวณ และการอ่านเพื่อทำการวิเคราะห์หาเหตุผล ข้อสอบในส่วนนี้ถือว่าเป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยากสำหรับนักเรียนไทย เพราะเป็นโจทย์ที่ต้องแข่งกับเวลา และเป็นการอ่านแบบวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อตอบคำถาม
Section 2: Scientific Knowledge and Applications
เป็นข้อสอบปรนัย (ชอยซ์) 27 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที คะแนนเต็ม 9 คะแนน ส่วนนี้ของ BMAT คือส่วนที่วัดความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ครอบคลุมวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประมาณชั้น ม.4 ซึ่งความยาก-ง่ายจะพอๆ กับ IGCSE และ GCSE แม้ว่านักเรียนไทยส่วนใหญ่คิดว่าข้อสอบในส่วนนี้ง่าย แต่หากต้องการยื่นเข้าคณะที่มีการแข่งขันสูง อย่างเช่น แพทย์จุฬารอบ 1 ก็ต้องทำคะแนนให้ได้เต็มหรือเกือบเต็มเลยทีเดียว
Section 3: Writing Task
อีกส่วนที่สำคัญมากๆ ของข้อสอบ BMAT คือส่วนของ Writing Task ที่เป็นข้อสอบการเขียนในรูปแบบของ Essay จำนวน 300 คำ ซึ่งจะให้นักเรียนเลือกเขียนตอบคำถาม 1 ข้อ จาก 3 หัวข้อที่ให้มา โดยให้เวลา 30 นาที มีคะแนนเต็ม 5A การให้คะแนน BMAT Writing Task จะแบ่งเป็นคะแนนในส่วนตัวเลขและส่วนที่เป็นตัวอักษร คะแนนส่วนตัวเลขนั้นคือคะแนนที่วัดว่าเนื้อหาที่เขียนเป็นอย่างไร และคะแนนที่เป็นตัวอักษรจะวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ คำถามจะเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ทั้งในด้านของจรรยาบรรณทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา กฎหมาย สิทธิมนุษยชน และสังคมศาสตร์
น้องๆ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมว่าแต่ละ Section มีรายละเอียดข้อสอบอย่างไรบ้างได้ผ่านลิงก์ http://www.admissionstestingservice.org ซึ่งทาง BMAT จัดทำไว้แล้วอย่างละเอียด
สอบ BMAT ได้กี่รอบ และสอบที่ไหน
ใน 1 ปีจะมีการเปิดสอบ BMAT 1-2 รอบ ในช่วงปลายปี โดยปกติอยู่ในช่วงประมาณกันยายน ตุลาคม หรือพฤศจิกายน แต่สามารถเลือกสอบได้เพียงแค่ 1 ครั้งต่อปี ค่าสอบอยู่ที่ £100 – £137 หรือประมาณ 4,000 – 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อบวกรวมกับค่าธรรมเนียมของศูนย์จัดการสอบแล้วอาจจะมีค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ประมาณ 7,000 – 9,000 บาท (ข้อมูลปี 2022) สำหรับคนที่สมัครไม่ทัน บางปีก็จะมีการเปิดรอบ Late Registration ให้ แต่ก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
สำหรับน้องๆ ที่ต้องการสมัครสอบ BMAT ในไทย สามารถสมัครสอบผ่าน 2 ที่คือ Capwise และ British Council
ไขข้อข้องใจ 10 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ BMAT
เมื่อรู้จักกันแล้วว่า BMAT คืออะไรแล้ว ลำดับถัดมา InterPass ก็ขอมาตอบคำถาม เคลียร์ทุกความสับสน และคลายความกังวลกันบ้างดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ว่าข้อสอบยากไหม ไม่เก่งอังกฤษจะทำได้ไหม ไม่ได้เรียนวิทย์-คณิตมาจะทำได้หรือเปล่า ไม่สอบแล้วจะยื่นหมอรอบ 1 ได้ไหม หรือใช้ BMAT แล้วจะต้องเข้าเรียนหลักสูตรอินเตอร์หรือเปล่า เตรียมสอบ BMAT พร้อม IELTS ยังไงดี ฯลฯ บอกเลยว่าคัดคำถามยอดฮิตมาเน้นๆ ได้คำตอบแล้วจะมีความมั่นใจในการเตรียมตัวมากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
1. ข้อสอบ BMAT ยากไหม นักเรียนโรงเรียนไทยจะมีหวังไหม
ความยากของ BMAT คือเรื่องของภาษาอังกฤษ เพราะข้อสอบ BMAT เป็นข้อสอบเฉพาะทางที่คนอังกฤษเองก็สอบกัน ภาษาที่ใช้จึงค่อนข้างยากและยาว โดยมากก็จะทำกันไม่ค่อยทันสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะ Section 1 Aptitude and Skills
สำหรับ Section 2 Scientific Knowledge and Applications แม้ว่าน้องๆ ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าง่ายที่สุดจากทั้ง 3 Sections เพราะโรงเรียนไทยสอนเนื้อหาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เยอะกว่าและลึกกว่ามากๆ แต่ทุกปีข้อสอบ BMAT จะออก BMAT Test Specification มาก่อนว่าจะดึงเรื่องไหนบ้างมาออกข้อสอบในปีนั้นๆ ส่วนสำคัญก็คือ ต้องเช็คหัวข้อที่จะออกและสโคปเนื้อหาที่ต้องดูให้ได้ และเรื่องคำศัพท์ การอ่านโจทย์ให้เข้าใจเป็นคีย์สำคัญที่ทำโจทย์ได้และทันเวลา
Section 3 Writing Task ซึ่งเป็นการสอบเขียน โดยปกติแล้วก็จะเป็นส่วนที่ยากที่สุดอยู่แล้วเพราะการเขียน Essay เป็นอะไรที่นักเรียนโรงเรียนไทยไม่คุ้นเคยกันสักเท่าไหร่ และเวลาที่ให้มาก็แค่ 30 นาที ดังนั้น น้องๆ ควรฝึกเขียนเยอะๆ โดยต้องศึกษาแบบแผน (Pattern) ของการเขียน BMAT ให้แม่นยำก่อนเริ่มลงมือเขียน หรือใครที่สอบ IELTS มาก่อนแล้วอาจจะได้เปรียบใน Section นี้
สรุปแล้วข้อสอบ BMAT ไม่ได้ยากจนเกินไป น้องๆ ที่เรียนหลักสูตรไทยก็สามารถเตรียมสอบ BMATให้ได้คะแนนดีได้ โดยใน Section 1 ถึงแม้ว่าโจทย์อาจจะยาว แต่ก็สามารถใช้เทคนิคการอ่านและตัดตัวเลือกได้ ส่วน Section 2 นี่น้องหลายๆ คนเชี่ยวชาญอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องฝึกทำข้อสอบเก่าในส่วนที่เรายังไม่เคยเรียนในหลักสูตรไทยมาก่อน และ Section 3 ต้องฝึกเขียนบ่อยๆ เพราะแนวโจทย์จะออกซ้ำไปซ้ำมา
2. สอบ BMAT มีรอบไหนง่ายไหม?
BMAT คือข้อสอบมาตรฐานสากลที่มีการคุมมาตรฐานของข้อสอบให้เป็นแบบเดียวกันในทุกรอบ ไม่มีรอบไหนยากหรือง่ายกว่ากัน แต่สามารถเลือกรอบสอบที่มีการเตรียมความพร้อมมาดีที่สุดได้ หากรู้ตัวเร็วตั้งแต่ ม.5 ก็จะสามารถสอบได้ 2 ครั้ง เพราะคะแนนสามารถเก็บไว้ใช้ได้ 2 ปี หรือถ้ารู้ตัวเร็ว อยากลองดูข้อสอบก่อนก็สามารถเริ่มสอบได้ตั้งแต่ ม.4 เพื่อให้ ม.5 – ม.6 สามารถสอบ BMAT ได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น สามารถตรวจสอบรายละเอียดการรับของแต่ละมหาวิทยาลัยได้ เพราะส่วนใหญ่จะกำหนดมาให้ใช้คะแนนที่สอบตอน ม.6 เท่านั้น
3. ถ้าไม่เก่งภาษาอังกฤษจะสอบ BMAT ได้หรือเปล่า
ข้อสอบ BMAT เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษทั้งหมดเลย แต่หากอ้างอิงจากข้อสอบเก่าจะพบว่าส่วนที่เป็นฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ จะใช้คำศัพท์เฉพาะที่ไม่ยากจนเกินไป ซึ่งสามารถเจอคำศัพท์พวกนี้ได้ตามหนังสือเรียน หรือจะเตรียมสอบ BMATด้วยการลองหาหนังสือภาษาอังกฤษมาอ่านเพิ่มเติม ก็จะช่วยให้คุ้นเคยกับคำศัพท์ได้มากขึ้น
แต่ถ้าเป็นการสอบเขียน หรือ Writing Task อาจจะหนักหน่อยและต้องฝึกเขียนเยอะๆ เพราะจะเป็นการเขียน Essay จำนวน 300 คำ ภายในเวลา 30 นาที แต่หัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่น้องๆ ต้องการเข้าไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ดังนั้น ถ้ามีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาดีก็สามารถผ่านข้อสอบส่วนนี้ไปได้แน่นอน
4. จะสอบ BMAT ต้องเรียนจบ ม.6 ก่อนหรือเปล่า
น้องๆ สามารถลงสอบได้ตั้งแต่ชั้น ม.5 เพราะคะแนน BMAT สามารถเก็บไว้ใช้ได้ถึง 2 ปี เพราะฉะนั้น ถ้าน้องๆ เตรียมตัวพร้อมแล้วก็สามารถสมัครสอบได้เลย ถ้าสอบตั้งแต่ ม.5 ก็แก้ตัวได้อีก 1 รอบตอน ม.6 แต่ถ้าพอใจคะแนนที่ได้แล้ว สามารถเก็บคะแนนไว้เพื่อยื่นในรอบที่ต้องการได้เลย แต่ส่วนใหญ่จะสอบ BMAT ทุกปีเพื่อลองข้อสอบ ดูคะแนนที่ได้ และเพื่อเตรียมตัวให้ดียิ่งขึ้นในปีถัดไป
5. อยากยื่นหมอรอบ 1 ไม่สอบ BMAT ได้ไหม
ส่วนใหญ่แล้วการยื่นหมอรอบ 1 นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ BMAT ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์บางแห่งที่เปิดโครงการพิเศษให้ยื่นหลักฐานแสดงความโดดเด่นทางวิชาการอื่นๆ แทนการยื่น BMAT ได้ อาทิ ในปีการศึกษา 2565 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเปิดรับนักเรียนที่ได้รับเหรียญทองหรือเหรียญเงินโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ สอวน. หรือผ่านอบรมรอบที่ 1 ของ สสวท. ในรอบ Portfolio ร่วมกับแฟ้มสะสมผลงานและจดหมายแนะนำตัว เป็นต้น
6. ยื่นคะแนน BMAT แล้วต้องเข้าเรียนหมออินเตอร์หรือเปล่า? แล้วมีค่าใช้จ่ายแบบอินเตอร์หรือเปล่า?
คะแนน BMAT คืออีกหนึ่งช่องทางที่ใช้ในการยื่นเพื่อเข้าคณะแพทย์ ซึ่งยื่นเข้าได้ทั้งหลักสูตรปกติ (หลักสูตรภาษาไทย) และหลักสูตรอินเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย ดังนั้นหากน้องๆ ยื่นเข้าหลักสูตรปกติ ก็จะได้เข้าไปเรียนกับเพื่อนๆ ที่รับผ่านรอบ 3 กสพท. เรียนในหลักสูตรเดียวกัน จ่ายค่าเทอมเท่ากัน ไม่ได้แพงเหมือนหลักสูตรอินเตอร์
7. การสอบ BMAT ดีกว่าการสอบแบบ กสพท. หรือเปล่า?
- ยื่นคะแนนเข้าหมอได้ตั้งแต่ TCAS รอบ 1 ยื่นได้เร็วกว่า รู้ผลเร็วกว่า
- คะแนน BMAT ที่ยื่นเข้าคณะแพทย์เปิดรับรวมกันกว่า 300 ที่นั่ง
- จำนวนวิชาที่ต้องสอบน้อยกว่า
- สามารถเตรียมคู่กันได้ สำหรับคนที่กลัวพลาด
- เนื้อหาจะคล้ายกันบางส่วน และก็มีส่วนที่ต่างกันออกไป
- เตรียมตัวน้อยกว่าแค่ IELTS / BMAT / Portfolio
8. ถ้าให้เลือกสอบระหว่าง IELTS กับ BMAT จะเลือกอะไรก่อนดี
BMAT จัดสอบ 1-2 รอบต่อปี (2022 สอบ 1 รอบ) แต่น้องๆ จะเลือกสอบได้รอบเดียวเท่านั้น ขณะที่ IELTS (Paper-based Test และ Computer-based Test) สามารถทำการสอบได้เดือนละ 3-4 ครั้ง เพราะฉะนั้นการเตรียมสอบ BMAT ค่อนข้างเสี่ยงและมีเนื้อหาเยอะกว่า จึงอยากให้เก็บคะแนน IELTS ให้สูงและไวที่สุดก่อน ยิ่งถ้าสอบ IELTS Writing ได้ดี ก็จะสามารถประยุกต์มาใช้กับการสอบ BMAT ได้เช่นกัน และอยากแนะนำเลยว่าพยายามให้ได้คะแนน IELTS 7.0 ขึ้นไป เพราะน้องๆ จะสามารถใช้คะแนนยื่นเข้าคณะแพทย์และคณะอื่นๆ ได้อีกหลายคณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและระยะเวลาเตรียมตัว ถ้าอยู่ ม.6 แล้วไม่มีเวลาเตรียมตัว อาจจะต้องเลือก BMAT ก่อนเพราะสอบได้แค่ปีละ 1 ครั้ง แล้วค่อยทยอยเก็บ IELTS เพราะสอบได้บ่อยกว่า
9. อยากยื่นหมอรอบ 1 ควรเริ่มเตรียมตัวยังไงดี
ไม่ว่าการสอบรอบไหนๆ ก็ต้องมีการวางแผนในการเตรียมตัวสำหรับการสอบทุกๆ ครั้ง เพื่อจะได้สามารถเห็นภาพรวมว่าจะติวอะไร เมื่อไร และสามารถแบ่งเวลาได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพราะว่าส่วนใหญ่คงไม่ได้สอบ BMAT อย่างเดียว ฉะนั้นการวางแผนการเรียนสำคัญมาก และอีกอย่างหนึ่งคือน้องๆ จะได้ตรวจสอบตัวเองให้ดีว่าถนัดหรือไม่ถนัดวิชาไหนบ้าง เช่น ถ้าน้องๆ ไม่ถนัดเขียน Essay ก็ต้องมาดูว่าจะมีวิธีการรับมือยังไงได้บ้างเพื่อเตรียมตัวให้ทันก่อนไปสอบนั่นเอง
InterPass ขอแนะนำให้น้องๆ เริ่มเตรียมสอบ BMATตัวโดยการทำความเข้าใจวิธีการที่ BMAT ออกข้อสอบ รวมถึงการทำ Past Papers หรือข้อสอบเก่าให้ครบทั้งหมดก่อนไปสอบ โดยไม่จำเป็นต้องทำแค่ครั้งเดียว สามารถจับเวลา เช็คข้อถูกข้อผิด เพื่อเตรียมตัวได้ดียิ่งขึ้น พร้อมมากยิ่งขึ้น โดยสามารถหาข้อสอบเก่าๆ ของ BMAT รอบที่ผ่านๆ มา เพื่อฝึกฝีมือตัวเองได้จากบทความด้านล่างของ InterPass เลย!
รวม Past Papers BMAT, IMAT และ TSA ย้อนหลัง 10 ปี
นอกจากนั้น ขอแนะนำตารางการอ่านหนังสือคร่าวๆ ให้ดังนี้
สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่มั่นใจว่าสกิลการเตรียมตัวหรือการวางแผนของเราดีหรือยัง หรือตัวเองเป็นคนที่ต้องได้รับการกระตุ้นอยู่บ่อยๆ ก็ขอแนะนำให้น้องๆ เข้ามาปรึกษากับพี่ๆ InterPass ได้เลย เพราะบอกเลยว่ามีความเชี่ยวชาญกับการให้คำปรึกษาวางแผนการสอบเป็นอย่างดีแน่นอน และยังมีคอร์สสำหรับการเตรียมสอบ BMAT ที่เริ่มตั้งแต่ปูพื้นฐานไปจนพร้อมลุยแบบเข้มข้นเตรียมพร้อมไว้ช่วยน้องๆ อีกด้วย
โดยถ้าน้องๆ อยากเรียน BMAT อย่างมีระบบ เรียนรู้เทคนิคการทำข้อสอบให้ทำได้รวดเร็วขึ้น และที่สำคัญ อยากประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือ InterPass ขอแนะนำคอร์ส Expert BMAT ที่สามารถเลือกเรียนสด หรือเรียน Online ได้ ในคอร์สนี้เราจะเรียนรู้เทคนิคลัด รวมถึงตะลุยโจทย์เก่า และแนวข้อสอบกันอย่างจุใจกันเลยทีเดียว
คงได้คำตอบกันไปแล้วว่า BMAT คืออะไร รวมถึงได้คำตอบของคำถามยอดฮิตก่อนจะเตรียมสอบ BMAT เรียบร้อยแล้วด้วย หวังว่าน้องๆ คงเข้าใจและมองเห็นภาพมากขึ้นก่อนจะไปลุยสนามสอบ InterPass เชื่อว่าถ้าน้องๆ มีความตั้งใจในทุกการสอบ และหมั่นฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา ผลตอบแทนของการสอบก็จะออกมาดีแน่นอนหากน้องๆ มีคำถามเพิ่มเติม หรืออยากให้พี่ๆ ทีมโค้ชแนะแนววางแผนการเรียน เพื่อเตรียมตัวสอบหมอรอบ 1 ก็สามารถติดต่อมาได้เลยที่ Line: @InterPass https://lin.ee/jEaOone หรือ โทร: 089-9964256, 089-9923965 หรือจะมาเจอกันที่ InterPass สยามสแควร์ซอย 10 เยื้องกับศูนย์หนังสือจุฬาฯ ได้เลย
ลงทะเบียนนัดวางแผนการเรียนฟรี คลิกที่นี่
สามารถดูรายละเอียดคอร์ส BMAT เพิ่มเติม หรือสมัครเรียนได้ที่นี่เลย
https://interpass.in.th/course/bmat/
สำหรับบทความอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสอบ BMAT สามารถอ่านได้ที่ https://www.interpass.com/category/bmat/