BLOG

    Home Blog Highlight ตอบทุกคำถาม! สอบ GED คืออะไร สอบทำไม สมัครยังไง มีวิชาอะไรบ้าง

ตอบทุกคำถาม! สอบ GED คืออะไร สอบทำไม สมัครยังไง มีวิชาอะไรบ้าง

สอบ GED

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินชื่อของ GED หรือ General Educational Development มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยเฉพาะนักเรียนในโรงเรียนอินเตอร์น่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่สำหรับโรงเรียนสามัญอื่นๆ อาจจะไม่ได้ทำความรู้จักการสอบในรูปแบบนี้มากนัก แต่จริงๆ เงื่อนไขในการสอบรูปแบบนี้นั้นง่ายมากๆ ทำให้น้องๆ สามารถข้ามชั้นไปเรียนมหาวิทยาลัย หรือใช้เวลา Gap Years ค้นหาตัวเองได้แบบชิวๆ

การสอบ GED คืออะไร

การสอบ GED คืออะไร มาหาคำตอบกัน

General Educational Development หรือเรียกชื่อโดยย่อว่า GED การสอบ GED คือ การสอบเทียบวุฒิเทียบเท่ากับมัธยมปลาย ตามหลักสูตรของประเทศสหรัฐอเมริกานั่นเอง ซึ่งปัจจุบัน GED เป็นสิ่งจำเป็นในการสอบสำหรับน้องๆ ที่สนใจไปเรียนมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา หรือน้องๆ ที่อยากเรียนเร็ว เรียนโฮมสคูลมาก่อน สามารถสอบ GED เพื่อยื่นเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้เลย โดยน้องๆ สามารถเริ่มสอบ GED ได้ตั้งแต่ตอนอายุ 16 ปี แต่ว่าจะต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง ถึงจะสามารถสอบได้ ยกเว้นในกรณีที่น้องๆ มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์จะสามารถสมัครสอบเองได้เลย

GED ต้องสอบอะไรบ้าง

สอบ GED ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง

กาสอบ GED จะเป็นการสอบทั้งหมด 4 วิชา คือ 1.วิชาคณิตศาสตร์ (Mathematical Reasoning) 2.วิชาภาษาอังกฤษ (Reasoning Through Language Arts) 3.วิชาสังคมศึกษา (Social Studies) และ 4.วิชาวิทยาศาสตร์ (Science)

โดยตัวข้อสอบ GED ในแต่ละวิชา น้องๆ จะต้องตอบคำถามหลายรูปแบบ เช่น

  • Multiple choice questions การเลือกตอบข้อที่ถูกต้อง 
  • Fill in the blanks เติมคำในช่องว่าง
  • Hot-spot การลากให้ตรงจุด ใส่จุดพิกัดที่ถูกต้อง
  • Drag and drop การลากคำตอบเพื่อนำไปใส่ในช่องว่าง
  • Drop and down การเลือกคำตอบที่ถูกต้อง น้องๆ จะต้องคลิกไปที่ปุ่มเปิดตัวเลือก เพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้อง จะคล้ายกับการสอบ Multiple choice questions 

Mathematical Reasoning

มีข้อสอบทั้งหมดประมาณ 46 ข้อ ระยะเวลาสอบทั้งหมด 115 นาที สามารถแบ่งเนื้อหาได้ ดังนี้

  • พีชคณิต Algebra (สัดส่วนเนื้อหาออกสอบเยอะที่สุด)
  • เรขาคณิต Geometry
  • การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน Basic Data Analysis เช่น ความน่าจะเป็น 

อุปกรณ์ในการสอบ 

  • การสอบ GED สามารถนำเครื่องคิดเลขเข้าสอบได้ แต่ต้องเฉพาะรุ่นเท่านั้น คือ TI-30XS
  • ไวท์บอร์ด ทาง GED จะเตรียมไวท์บอร์ดไว้สำหรับทดเลขให้กับน้องๆ 

Reasoning Through Language Arts

เป็นการสอบวัดความเข้าใจระดับภาษาอังกฤษ ทั้งการอ่าน การเขียน ไวยากรณ์ โดยระยะเวลาการสอบพาร์ทนี้จะอยู่ที่ 150 นาที มีข้อสอบประมาณ 46 ข้อ สามารถแบ่งเนื้อหาได้ ดังนี้

  • Tests all contents น้องๆ จะเจอคำถามที่วัดทักษะทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบไวยากรณ์ ทำสอบการอ่านจับใจความ มีคำถามประมาณ 20 ข้อ ระยะเวลาสอบ 35 นาที
  • Extended Response หรือพาร์ทการเขียน (Writing) จะเป็นการเขียน essay จำนวน 1 คำถาม โดยให้เวลาเขียนประมาณ 45 นาที 
  • Tests all contents คำถามที่วัดทักษะทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบไวยากรณ์ ทำสอบการอ่านจับใจความ มีคำถามประมาณ 30 ข้อ ระยะเวลาสอบ 60 นาที

โดยเนื้อหาของวิชาภาษาอังกฤษนี้ น้องๆ จะต้องแม่นทั้งการจับใจความ สรุปประเด็นหลักของเนื้อหาที่อ่าน หลักไวยากรณ์ที่ถูกต้องนั่นเอง

Social Studies

วิชาสังคมศึกษา ในส่วนนี้หลายๆ คนอาจมองว่าง่าย แต่จริงๆ แล้ว น้องๆ จะต้องมีความรู้รอบตัว รู้เท่าทันทั้งเหตุการณ์ปัจจุบัน ประวัติศาสตร์โลกอีกด้วย ระยะเวลาทำข้อสอบวิชานี้มีทั้งหมด 70 นาที จำนวนข้อสอบประมาณ 35 ข้อ

  • การปกครองและหน้าที่พลเมือง (Government and Civics) ประมาณ 50% 
  • ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา (U.S. history) ประมาณ 20%
  • เศรษฐศาสตร์ (Economics) ประมาณ 15%
  • ภูมิศาสตร์ (Geography) ประมาณ 15%

ความยากของวิชานี้ คือ น้องๆ จะเจอโจทย์ที่ยาว ต้องแปลให้ถูกต้อง จับใจความสำคัญ และแปลศัพท์ให้ได้ ศัพท์ที่ออกสอบในวิชานี้มักเป็นศัพท์เฉพาะ ศัพท์เกี่ยวกับการเมือง เช่น Nationalism (Noun) แปลว่า ชาตินิยม, Suffrage (Noun) แปลว่า สิทธิในการเลือกตั้ง เป็นต้น

Science

ในการสอบวิชาวิทยาศาสตร์จะมีระยะเวลาทั้งหมด  90 นาที จำนวนข้อสอบประมาณ 38 ข้อ โดยแบ่งเนื้อหาได้ ดังนี้

  • วิทยาศาสตร์กับชีวิต (Life science) ประมาณ 40% เน้นข้อสอบเกี่ยวกับชีววิทยา หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเช่น ภาวะโลกร้อน ร่างกายมนุษย์ พันธุกรรม เป็นต้น
  • ฟิสิกส์และเคมี (Physics and Chemistry) ประมาณ 20% เช่น แรงและพลังงาน ธาตุและสารประกอบ เป็นต้น
  • โลกและอวกาศ (Earth and Space) ประมาณ 20% เกี่ยวกับธรณีวิทยา  เช่น โลกหมุนรอบตัวเองอย่างไร ระบบสุริยจักรวาล ฯลฯ

อุปกรณ์ในการสอบ 

  • การสอบ GED สามารถนำเครื่องคิดเลขเข้าสอบได้ แต่ต้องเฉพาะรุ่นเท่านั้น คือ TI-30XS ของ Texas Instruments
  • การคิดเลขโดยใช้คอมพิวเตอร์ (On-screen Calculator) สามารถคิดเลขโดยใช้เครื่องคิดเลขบนคอมพิวเตอร์ได้เลย
คะแนนสอบ GED มีอะไรบ้าง

ระดับคะแนนสอบ GED มีอะไรบ้าง

ระดับคะแนนของการสอบ GED ในแต่ละวิชาจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน ซึ่งน้องๆ จะต้องสอบทุกวิชาให้ผ่าน โดยผลคะแนนจะถูกแบ่งเป็นระดับต่างๆ ได้ ดังนี้

  1. Below is a passing score หรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่สอบผ่าน ช่วงคะแนนจะอยู่ที่ 100-144 คะแนน หากน้องๆ สอบไม่ผ่าน สามารถจองสอบใหม่ได้ทันที (สามารถสอบใหม่ได้สูงสุด 3 ครั้งต่อ 1 วิชา) จากนั้น หากครั้งที่ 4 ยังไม่ผ่านอีก จะต้องเว้นการสอบเป็นระยะเวลา 60 วัน และหากในครั้งที่ 5 หรือครั้งถัดๆ ไป ยังไม่ผ่านอีก จะต้องเว้นไปเรื่อยๆ ครั้งละ 60 วัน 
  2. Passing score ระดับที่สอบผ่าน อยู่ที่ 145-164 คะแนน
  3. College ready score ระดับที่สอบผ่านและสามารถเตรียมยื่นสมัครเรียนมหาวิทยาลัยได้เลย ช่วงคะแนนจะอยู่ที่ 165-174 คะแนน 
  4. College seady + Credit score ระดับที่สอบผ่าน ระดับคะแนนอยู่ที่ 175-200 คะแนน ถือว่าเป็นช่วงคะแนนที่สูงมาก โดยที่น้องๆ ที่อยู่ในช่วงคะแนนระดับนี้ อาจได้รับข้อเสนอ สิทธิพิเศษในการเข้าเรียน เช่น ได้ทุนการศึกษา หรือยกเว้นการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เป็นต้น
เอาคะแนน GED ไปทำอะไรได้บ้าง

ข้อสอบ GED เอาไปทำอะไรได้บ้าง 

GED เป็นการทดสอบที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับความรู้ก่อนเลื่อนชั้นเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นเท่ากับว่า น้องๆ สามารถยื่นคะแนน GED ที่มีอยู่เพื่อใช้ในการสมัครเรียนมหาวิทยาลัยได้ทันที

สำหรับมหาวิทยาลัยในไทยที่รับคะแนนสอบ GED จะเป็นหลักสูตรนานาชาติ หรือเรียกว่า หลักสูตรอินเตอร์ โดยสามารถเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำในไทยได้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น

ยกตัวอย่างคณะที่เปิดรับ โดยใช้ผลคะแนน GED ในการยื่นสมัคร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)

  • BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
  • EBA คณะเศรษฐศาสตร์
  • BSAC คณะวิทยาศาสตร์
  • JIPP คณะจิตวิทยา
  • BALAC คณะอักษรศาสตร์
  • COMMARTS คณะนิเทศศาสตร์
  • COMMDE ออกแบบนิเทศศิลป์/ INDA คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • BAScii หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • BE คณะเศรษฐศาสตร์
  • SIIT สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
  • BAS คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรอังกฤษ-อเมริกันศึกษา
  • BEC คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ
  • ISC คณะวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการ

มหาวิทยาลัยมหิดล

MUIC วิทยาลัยนานาชาติมหิดล สามารถยื่นได้เกือบทุกคณะที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ

  • B.B.A. คณะบริหารธุรกิจ
  • B.Sc คณะวิทยาศาสตร์
  • B.Eng คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • B.A.Sc. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • B.Com.Arts คณะนิเทศศาสตร์
  • B.A. คณะศิลปศาสตร์
  • B.F.A. คณะศิลปกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

  • IUP คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • EEBA คณะเศรษฐศาสตร์ 
  • KITMAN คณะมนุษยศาสตร์ 
เงื่อนไขสมัครสอบ GED

ขั้นตอนและการสมัครสอบ GED 

ขั้นตอน และวิธีการสมัครสอบ GED นั้น น้องๆ จะต้องเข้าไปสร้างบัญชีของตนเองในเว็บไซต์ของGED ถึงจะสามารถสมัครสอบได้ จากนั้นต้องสมัครสอบ GED Ready และทำแบบทดสอบให้ผ่านก่อน ถึงสามารถเข้าไปสอบ GED สนามจริงได้ 

คุณสมบัติที่ควรรู้ก่อนสมัครสอบ

  • ผู้สมัครสอบต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป แต่จะต้องมีหนังสือยินยอม (Consent form) จากผู้ปกครอง หากไม่มีหนังสือยินยอม จะไม่สามารถสอบได้
  • ผู้สมัครสอบที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถสมัครสอบเองได้เลย
  • ผู้สมัครสอบจะต้องสมัครสอบ GED Ready ให้ผ่านก่อน (ต้องได้คะแนนวิชาละ 155 คะแนนขึ้นไป) ถึงจะสามารถสมัครสอบ GED ของจริงได้

สร้าง GED ID

วิธีการสร้าง GED ID นั้นจะต้องเข้าไปสร้างบัญชีก่อนที่ เว็บไซต์ของGED โดยสามารถทำตามขั้นตอนได้ ดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์ของ GED เพื่อสร้างบัญชี ซึ่งหากยังไม่มีบัญชีให้กด Sign up ก่อน หรือหากมีบัญชีเรียบร้อยแล้วให้กด Log in
  2. ให้สมัคร E-mail และตั้งรหัสผ่านของตนเอง
  3. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน โดยข้อมูลจะต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง ทั้งตัวสะกด เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้วให้กดยอมรับเงื่อนไขของ GED 
  4. จากนั้นกรอกเบอร์โทรศัพท์ โดยที่น้องๆ สามารถเลือกได้ว่าจะกด Yes! Email me news and discounts for MyGED เพื่อรับข้อมูลข่าวสารและส่วนลดทาง E-mail ของตนเอง หากไม่กด ก็เพียงแค่คลิก continue 
  5. ให้เลือกประเทศที่ต้องการสอบ เช่น Thailand แล้วกด continue
  6. จากนั้นให้เลือก I plan to study on my own (Self-study) แปลว่า เลือกที่จะเตรียมตัวสอบด้วยตนเอง แล้วกด continue
  7. เสร็จสิ้นขั้นตอนการสร้าง GED ID

สมัครสอบ GED Ready 

GED Readyคืออะไร? สรุปสั้นๆ เลยก็คือ แบบทดสอบเสมือนจริงที่จัดทำโดยทาง GED ซึ่งล่าสุดทาง GED ได้มีการกำหนดเงื่อนไขขึ้นมาว่า น้องๆ ที่ต้องการสอบ GED จะต้องผ่านแบบทดสอบของ GED Ready ก่อน ถึงจะสามารถสมัครสอบ GED ได้

สำหรับการสมัครสอบ GED Ready สามารถทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. คลิก study ที่อยู่บนแถบเมนูด้านบนสุด 
  2. เมื่อเข้าสู่หน้าต่างใหม่แล้ว ให้กดไปที่ practice 
  3. จากนั้นเลือกวิชาที่ต้องการสมัครสอบ โดยสามารถเลือกทีละวิชา หรือเลือกทีเดียว 4 วิชาเลยก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำข้อสอบได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน 
  4. หากน้องๆ เลือกสอบทีละวิชา จะต้องเลือกก่อนว่าจะสอบวิชาไหนเป็นอันดับแรก จากนั้นคลิก continue แล้วกด proceed to checkout
  5. เมื่อตรวจดูรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว จะเป็นพาร์ทการชำระเงินค่าสมัครสอบ โดยที่น้องๆ ต้องตัดผ่านบัตรเครดิต เพียงเท่านี้ขั้นตอนการสมัครสอบก็ถือว่าเสร็จสิ้น 

สมัครสอบ GED 

สำหรับการสมัครสอบ GED สามารถทำได้หลังจากสอบ GED Ready ผ่านเรียบร้อยแล้ว โดยน้องๆ สามารถทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. หลังจากสอบ GED Ready เรียบร้อยแล้ว ระบบ GED ก็จะอนุญาตให้ไปสู่การสอบ GED ได้เลย เพียงน้องๆ เข้าไป log in ที่ www.ged.com 
  2. จากนั้นคลิกที่ schedule test เพื่อเลือกรายวิชาที่ต้องการสมัครสอบ
  3. เลือกสนามสอบที่ต้องการ
  4. เลือกวันและเวลาสอบ
  5. ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง และชำระค่าสมัครสอบผ่านบัตรเครดิต 
  6. เมื่อชำระเงินค่าสมัครเรียบร้อยแล้ว จะได้รับ e-mail ยืนยันการสมัครสอบ
ทำไมควรสอบ GED

ทำไมถึงควรสอบ GED และใครบ้างที่ควรสอบ?

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วทีมงาน InterPass ขอเสริมต่ออีกเล็กน้อยเกี่ยวกับการสอบเทียบวุฒิ GED ว่ามีข้อดีหลักๆ คืออะไรบ้าง และใครที่ควรรับการสอบรูปแบบนี้

ข้อดีของการสอบ GED

ข้อดีของการสอบ GED มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นช่วยเสริมทักษะภาษาอังกฤษ เนื้อหาที่มีภาพรวมง่ายกว่า หรือความเป็นสากลของข้อสอบที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก แถมประหยัด จัดเวลาชีวิตได้เอง ไปดูกันชัดๆ เน้นๆ ทีละข้อ

1. เป็นการสอบ English-based 

เพราะว่าเป็นการสอบ English Base ทำให้น้องๆ ต้องเก่งภาษาอังกฤษระดับหนึ่ง ซึ่งหากวางแผนระยะยาวมาแล้ว การเตรียมตัวสอบ GED นั้นจะเป็นการเพิ่มทักษะให้กับ Soft Skill ด้านภาษาได้อีกด้วย

2. เนื้อหาการสอบง่ายกว่าการสอบระดับม.ปลาย

เพราะว่าเป็นการสอบในหลักสูตรอเมริกันที่เน้นเนื้อหาที่เป็นกลาง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิต ทำให้ภาพรวมของเนื้อหาทุกรายวิชานั้นง่ายกว่ามากๆ สำหรับใครที่ชอบบ่นว่า เรียนท่องกลอนไปทำไมไม่เห็นได้ใช้ การสอบ GED ถือว่าตอบโจทย์สุดๆ 

3. มหาวิทยาลัยทั่วโลกให้การยอมรับ

นอกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในไทยแล้ว คะแนน GED ยังสามารถนำไปใช้กับมหาวิทยาลัยได้อีกหลายแห่งทั่วโลก ฉะนั้นสำหรับคนที่วางแผนอยากจะไปเรียนต่อนอกตั้งแต่ปริญญาตรีก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ห้ามพลาด แถมยังสามารถใช้ยื่นมหาวิทยาลัยเป็นแผนสำรองได้อีกด้วย

4. เหลือเวลาให้กับการค้นหาตัวเอง

สิ่งที่สำคัญที่สุดเลยคือการสอบ GED นั้นทำให้เรามีเวลาว่างเต็มๆ 2 ปี สำหรับบางคนที่รีบหรืออยากตามฝันตัวเองก็อาจจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ก่อนแต่เนิ่นๆ หรือใครที่ยังไม่มีเป้าหมายก็เหลือเวลาให้ตามหาสิ่งที่อยากทำมากถึง 2 ปี ซึ่งหากผู้ปกครองเป็นห่วงเรื่องน้องๆ ที่สอบผ่านไปแล้ว Gap Year นานเกินไปจะลืมเนื้อหาหรือไม่ก็สามารถประยุกต์กับการเรียนแบบ Homeschool ได้อีกด้วย

5. ประหยัด

การสอบ GED นั้นใช้งบทั้งหมดประมาณ 10,000 บาท ถ้วน ไม่เกินกว่านี้ ซึ่งหากเทียบกับการจ่ายค่าเทอมระยะยาวนั้นถือว่าไม่มากเลย นอกจากนี้ยังไม่กำหนดวุฒิการศึกษาของผู้สมัคร ทำให้เข้าถึงคนได้ง่ายทุกกลุ่ม หากวางแผนเตรียมตัวไว้อย่างดี 

การสอบ GED เหมาะกับใคร

  • นักเรียนทั่วไปทั้งเด็กโฮมสคูล โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนสามัญ ทั้งเอกชนและรัฐบาล หรือนักเรียนกศน.
  • นักเรียนที่มีเป้าหมายชัดเจน มีคณะในฝันที่ไม่กำหนดอายุในการสมัครเข้า
  • นักเรียนที่อยากลองเรียนวิชานอกหลักสูตร จึงต้องการเวลาว่างจำนวนมาก เช่น การฝึกดนตรีจริงจัง การฝึกวิชาชีพต่างๆ หรือทดลองทำงาน
GED FAQs

คำถามสุดฮิตเกี่ยวกับการสมัครสอบ GED ที่ควรรู้!

รู้รอบเรื่องสอบ GED เบื้องต้นไปแล้ว พี่ๆ Interpass ขอมาสรุปและตอบคำถามข้องใจให้อีกครั้งแบบสั้นๆ กระชับทันใจ มีคำถามยอดฮิตและมีคำตอบอะไรบ้าง ไปชมกัน  

วันและเวลาในการสอบ

GED จะมีการสอบทุกสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ – เสาร์ โดยที่น้องๆ สามารถเลือกเวลาสอบได้ตั้งแต่ 9.00 – 16.00 น.

การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการสอบ

เลื่อนวันหรือเวลาสอบ หากต้องการเลื่อนวันสอบ สามารถทำได้ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนวันสอบ 

ยกเลิกการสอบ ต้องแจ้งยกเลิกภายใน 24 ชั่วโมง โดยเงินค่าสมัครสอบจะคืนผ่านช่องทางบัตรเครดิต

ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ

ค่าใช้จ่ายในการสอบ GED ทั้งหมดจะต้องชำระโดยบัตรเครดิต โดยลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์  www.ged.com โดยอิงจากอัตราค่าสมัครสอบรายวิชา อยู่ที่ประมาณ 2,300 บาท

GED สอบได้กี่ครั้ง

หากสอบ GED แล้วได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ สามารถสอบซ่อมรอบที่ 2 และ รอบที่ 3 ได้ โดยเว้นระยะเวลาในการสอบซ้ำในแต่ละครั้งอย่างต่ำ 3 เดือน หากสอบซ่อมสองครั้งนี้แล้วยังไม่ผ่านเกณฑ์ และต้องการสอบซ้ำอีก จะต้องเว้นระยะอย่างน้อย 60 วัน จึงสอบรอบใหม่ได้ ดังนั้นสามารถสอบ GED ได้สูงสุด 3 ครั้งต่อ 1 ปี 

หลังสอบ GED ไปแล้วจะรู้ผลเมื่อไหร่

เมื่อน้องๆ สอบเสร็จ จะรู้ผลคะแนนทันที

คะแนนสอบ GED เก็บได้นานกี่ปี

การสอบ GED ถือว่าเป็นวุฒิการศึกษาที่ใช้เทียบเท่ากับระดับม.ปลาย ดังนั้นจะไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งหลังจากสอบผ่านเรียบร้อย น้องๆ จะได้รับเอกสาร ดังนี้ 

  • ประกาศนียบัตรการจบการศึกษา (Diploma)
  • ใบรายงานผลคะแนน (Transcript)
GED Fast Track คือ

มาสอบ GED อย่างมั่นใจด้วยคอร์ส GED สุดเข้มข้น

น้องๆ คนไหนกำลังมองหาตัวช่วยในการเตรียมตัวสอบ GED กันอยู่บ้าง? พี่ๆ Interpass ขอแนะนำคอร์สและแพคเกจเตรียมสอบ GED ดังนี้

  1. คอร์ส GED Language Arts รวมโจทย์ภาษาอังกฤษทั้ง Reading Writing รวมเทคนิคการทำโจทย์ และตรวจ Essay ไม่จำกัดอีกด้วย
  2. คอร์ส GED Social Studies รวบรวมเนื้อหาพร้อมทำโจทย์ครบทั้ง 4 ส่วนที่ออกสอบ ได้แก่ Civics and Government, U.S. history, Economics และ Geography 
  3. คอร์ส GED Science ครอบคลุมทุกเนื้อหาไม่ว่าจะเป็น Life, Physical, Earth and Space
  4. คอร์ส GED Math รวมทุกเนื้อหา พร้อมเทคนิคการคิดเลขสูตรเฉพาะของ Interpass
  5. แพคเกจ GED FAST TRACK แพคเกจรวมที่ประกอบไปด้วยทั้ง 4 คอร์สของ GED ด้านบน

นอกจากนี้ พี่ๆ Interpass ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้ทดลองเรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถคลิกเข้าไปดูได้ที่นี่

GED คือ การสอบวัดระดับความรู้ของตนเองเพื่อให้ได้วุฒิเทียบเท่ากับการจบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และยังเป็นการสอบวัดระดับที่ใช้ในระดับสากล สามารถยื่นคะแนนเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้อีกด้วย ถือเป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับน้องๆ ที่เรียนหลักสูตร Home School หรือเป็นนักกีฬา หรือน้องๆ ที่สนใจอยากเรียนเร็ว หากลองสอบตั้งแต่ตอนอายุ 16 ปีแล้วมีคะแนนผ่านเกณฑ์ ก็สามารถยื่นสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ก่อนเพื่อนๆ อีกด้วย และสำหรับน้องๆ ที่ยังไม่มั่นใจ อยากเพิ่มคะแนนสอบทุกวิชาให้ผ่านฉลุย พี่ๆ Interpass ขอแนะนำคอร์สรู้ลึก รู้ละเอียดกับ คอร์ส GED FAST TRACK ที่รวบรวมเนื้อหาในการสอบครบ พร้อมทั้งเทคนิคการตอบคำถามทั้ง 4 วิชามาให้น้องๆ เรียบร้อยแล้ว

รับสมัคร – แพทย์และการสาธารณสุข ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ IELTS: 5 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนไปสอบ IELTS Writing

Date : Oct 19, 2022

You May Like