สวัสดีค่ะน้องๆว่าที่คุณหมอทุกคน
วันนี้เรากลับมาต่อกันด้วยเรื่องของการสอบ BMAT section 2 หรือที่เรียกว่า Scientific Knowledge and Application กันนะคะ อันที่จริงแล้วข้อสอบ BMAT ใน section 2 นี้ หลายๆ คนบอกว่าง่ายกว่าเมื่อเทียบกับ Section 1 และ 3 จะจริงหรือเปล่า วันนี้เรามีแขกรับเชิญพิเศษมาไขข้อข้องใจในเรื่องนี้กันนะคะ นั่นก็คือครูพี่อาโน ซึ่งรับหน้าที่สอนวิชาฟิสิกส์ BMAT และ SAT SUBJECT TEST ของ InterPass นั่นเองค่ะ ซึ่งครูพี่อาโนนี่ไม่ธรรมดาเลยนะคะ ตอนเรียนมัธยมนี่ก็เป็นนักเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของรร. MWIT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะนั่นเอง และพี่อาโนก็ยังได้เรียนต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นไว้ใจได้เลยค่ะว่าเป็นมือวางอันดับหนึ่งทางด้านฟิสิกส์แน่นอน ว่าแล้วก็อย่าให้เสียเวลาค่ะ ไปสัมภาษณ์พี่อาโนกันเลยดีกว่าค่ะ
Q: พี่อาโนคะ มีน้องๆ สอบถามมาเยอะเลยค่ะว่าเราไม่จำเป็นต้องเรียน BMAT Section 2 ก็ได้จริงมั้ยคะ เพราะว่าโรงเรียนไทยเราเรียนวิทยาศาสตร์กันหนักกว่าที่อังกฤษอยู่แล้ว
A: จริงๆ แล้วพี่คิดว่าอาจจะจริงที่ว่าความโหดของข้อสอบ BMAT อาจจะไม่เท่ากับโรงเรียนไทยนะครับ แต่พี่คิดว่าเรื่องที่หนักๆ ของคนไทยเราก็น่าจะเป็นเรื่องของภาษา เพราะน้องบางคนแปลโจทย์ไม่ค่อยออกครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อสอบ BMAT ให้เวลาน้อยมาก ข้อละประมาณ 1 นาที ดังนั้นถ้าน้องไม่ชินกับการใช้ภาษาอังกฤษ หรือการทำข้อสอบแบบ speed test นี่ ข้อสอบที่ว่าง่ายๆ ก็จะเริ่มยากทันทีเลยครับ
อีกอย่างหนึ่งคือถ้าดูตามสถิติคะแนนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าน้องๆ ที่ประสบความสำเร็จในการเข้าหมอรอบ 1 จะได้คะแนน Section นี้กันสูงๆ ทั้งนั้น อย่างหมอจุฬานี่เรียกว่าคะแนน Section 2 นี่ต้องเต็มหรือเกือบเต็มเลยทีเดียวครับ ผิดได้แค่ 1-2 ข้อเท่านั้น ดังนั้นพี่แนะนำว่าถ้ามีเวลาก็เรียนเถอะครับ อีกอย่างคือมันมีบางเรื่องที่โรงเรียนไทยเราไม่ได้เน้น แต่ว่าข้อสอบ BMAT ออกครับ
Q: มีอะไรบ้างคะที่ข้อสอบ BMAT ออกสอบ แต่หลักสูตรไทยไม่ครอบคลุม
A: จริงๆ แล้วพี่คิดว่าความแตกต่างของข้อสอบ BMAT กับข้อสอบหลักสูตรไทย ที่แตกต่างกันหลักๆ คือข้อสอบไทยส่วนใหญ่จะเน้นคำนวณคิดเลขว่าคำตอบแต่ละข้อจะเป็นเท่าไร แต่ของ BMAT จะวัดความเข้าใจของตัวเนื้อหา ซึ่งหลายๆ ข้อไม่จำเป็นต้องคำนวณด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างเช่นเรื่องของรังสี ถ้าเป็นข้อสอบไทยก็จะให้คำนวณเลยครับ แต่ว่า BMAT อาจจะออกเรื่องคุณสมบัติของรังสีแต่ละชนิดแทนครับ
หรือตัวอย่างที่พี่ยกมาให้ดูเรื่องของความต้านทาน ก็จะเห็นว่าออกเป็นคุณสมบัติเหมือนกัน แล้วให้หาว่าข้อใดบ้างที่ถูก ซึ่งจะเห็นว่าไม่ต้องคำนวณเลยครับ แต่สูตรต้องแม่น ถึงจะสามารถทำได้ครับ และก็อาจจะต้องอ่านยาวหน่อยนะครับ แต่ถ้าสังเกตดู หลักๆ เวลาตัด choice ก็จะตัดได้หลายตัวเลยทีเดียว ทำให้โจทย์ที่ดูเหมือนยาว จริงๆแล้วก็ไม่มีอะไรครับ ทำไม่ถึง 1 นาทีแน่นอน

Q: ตั้งแต่ปี 2020 มีการเปลี่ยนแปลงข้อสอบ BMAT ใน section 1 เยอะเลย อยากทราบว่าสำหรับข้อสอบฟิสิกส์มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างคะ
A: ถ้าเราดูตาม specification ของ BMAT ก็จะมีเรื่องเพิ่มเข้ามาเยอะเหมือนกันนะครับ เช่นเรื่องวงจรไฟฟ้าก็จะมีเรื่องคุณสมบัติของ NTC (Negative Temperature Coefficient) thermistors, LDFs (Light-Dependent Resistors) and ideal diodes เข้ามา เรื่อง Motor Effect ก็เพิ่มมา ส่วนเรื่อง Magnetic ก็ออกสอบละเอียดขึ้น
แต่พี่คิดว่ามันไม่ใช่เนื้อหาหลักครับ หลักๆที่ BMAT จะออกทุกปีก็จะเป็นเนื้อหาของ Mechanics เรื่องแรงและพลังงาน Electricity วงจรไฟฟ้าต่างๆ Electromagnetic wave คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละชนิด และ Radioactivity การแผ่รังสี พวกนี้ออกเยอะเลยครับ
Q: สัดส่วนการออกข้อสอบ BMAT แต่ละปีเป็นอย่างไรคะ แล้วถ้าน้องๆ มีเวลาเตรียมตัวน้อย ควรจะต้องเน้นเรื่องอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่าคะ
อย่างหัวข้อตามบทที่บอกไปก็จะออกเนื้อหาวัดความเข้าใจของเราแน่ๆ บทละ 1-2 ข้อครับ ในแต่ละ Section 2 มีเนื้อหาฟิสิกส์แค่ 7 ข้อเองครับ แต่ specification ให้มายาวหลายหน้ากระดาษ ละเอียดมากครับ ซึ่งถ้าน้องๆ มีเวลาน้อยก็ให้ไปเน้นเรื่องที่พี่บอกไปแล้วเป็นพิเศษครับ

Q: พี่อาโนมีเทคนิคดีๆ อะไรให้น้องๆ เอาไปใช้ในการสอบ BMAT บ้างมั้ยคะ
พี่ขอพูดรวมๆ เลยแล้วกันนะครับ อย่างที่บอกไปว่าจริงๆแล้วเนื้อหาไม่ได้ยาก แต่ภาษาต่างหากครับที่จะเป็นอุปสรรคดังนั้นเวลาเจอข้อสอบยาวๆก็อย่าเพิ่งไปกลัวนะครับ ลองใช้หลักการ 3A ดูครับ พี่ว่าจะช่วยน้องๆได้มากทีเดียว
หลักการ 3A
- Asking อ่านโจทย์ และทำความเข้าใจว่าโจทย์ถามอะไร น้องๆอย่าสับสนกับโจทย์บางข้อที่ยาวๆ นะครับ ถ้ายาวอาจจะใช้การวง keywords ต่างๆ แล้วลองคิดว่าโจทย์ถามอะไร
- Analysing เมื่อทราบว่าข้อนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไรก็ลงมือคำนวณได้เลยครับ
- Answering ในตอนสุดท้ายที่จะตอบก็สำคัญนะครับ ระวังให้ดี โจทย์อาจจะมีตัวเลือกหลอกก็ได้ เช่น เรื่องของหน่วยในคำตอบอาจจะเป็นคนละชนิดกับในคำถามครับ ซึ่งน้องต้องระวังในเรื่องการแปลงหน่วยด้วยครับ
Q: สุดท้ายนี้พี่อาโนมีอะไรจะฝากถึงน้องๆ หรือให้กำลังใจน้องๆ ก่อนถึงวันสอบจริงมั้ยคะ
ก็ขอให้น้องๆ ที่มุ่งมั่นจะสอบหมอรอบ 1 อย่าท้อแท้นะครับ BMAT เป็นข้อสอบที่เรียกว่าเป็น speed test คือต้องทำแข่งกับเวลานั่นเอง ดังนั้นถ้าใครไม่ตื่นกลัวในห้องสอบก็จะได้เปรียบเพื่อนๆ ระดับหนึ่งครับ สำคัญมากๆ ที่เราควรจะต้องทำข้อสอบเก่าหรือที่เรียกว่า past paper แบบจับเวลาก่อนไปสอบครับ พี่ก็ขอให้น้องๆ ทุกคนโชคดีกับการสอบที่จะถึงนี้นะครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พี่อาโนมาเผยความลับการสอบ BMAT ฟิสิกส์ รวมถึงสัดส่วนข้อสอบให้น้องๆ ได้รู้ขนาดนี้แล้ว การสอบคราวหน้าน้องๆ ต้องทำได้คะแนนดีแน่นอนค่ะ แต่ถ้าใครอยากเสริมความมั่นใจในการสอบ อยากมีผู้ช่วยเตรียมตัวที่คัดสรรมาเฉพาะเนื้อหาเน้นๆ ตะลุยโจทย์จริงกัน ก็มาเรียนคอร์ส BMAT ฟิสิกส์กับพี่อาโนกันได้เลยค่ะ รับรองว่าเนื้อหาแน่นปึ๊ก และข้อสอบไม่อั้นตามสไตล์ InterPass กันเลยค่ะ สำหรับรายละเอียดคอร์ส BMAT สอบติดหมอรอบ 1 คลิ๊กที่นี่ได้เลยค่ะ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสอบ BMAT คลิ๊กที่นี่เลย –> https://interpass.in.th/blog/bmat/
สำหรับน้องๆ คนไหนที่ยังไม่แน่ใจหรืออยากได้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมสามารถติดต่อขอรับการปรึกษาสามารถเข้ามาสอบถามหรือวางแผนการเรียนไปพร้อมกับพี่ๆ InterPassได้ฟรี! ทั้ง 3 ช่องทางทั้งที่ InterPass สาขาสยามสแควร์ซอย 10 และสาขาวรรณสรณ์ชั้น 9 หรือจะ Line : @InterPass, Tel : 089-9964256, 089-9923965 สมัครได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด 09:00 – 19:00 น.ได้เลยนะคะ
________________________________________
InterPass ที่ 1 ด้านอินเตอร์ ✈️
สอบถามคอร์สเรียน Inbox: m.me/interpassinstitute
Line: @InterPass
Tel: 089-9964256, 089-9923965