ซีรี่ย์สุดฮิตในตอนนี้คงหนีไม่พ้น “My Ambulance รักฉุดใจนายฉุกเฉิน” ซีรี่ย์แนวแฟนตาซี ที่มีการนำเรื่องราวทางการแพทย์เข้ามาเกี่ยวข้อง พร้อมสอดแทรกเนื้อหาคำศัพท์ – คำย่อ ทางการแพทย์ ให้ผู้ชมได้เข้าใจเนื้อหาของซีรี่ย์มากยิ่งขึ้น โดยบทความนี้ได้รวบรวมคำศัพท์ – คำย่อ ทางการแพทย์ มาฝากน้องๆที่จะสอบ BMAT ได้อ่านกันค่ะ…
คำศัพท์
Pulse = อัตราการเต้นของหัวใจ
ปกติคนส่วนใหญ่จะมีชีพจรเต้น 60-100 ครั้ง/นาที ถ้ามากกว่านี้ถือว่าหัวใจกำลังเต้นเร็วผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คความผิดปกติของร่างกาย
BP (Blood Pressure) = ความดันโลหิต
O2sat (oxygen saturation) = ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
เปิด IV การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ผล CT brain = ผลการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
Extern = นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 6
มักจะถูกเรียกว่า “หมอ” เพราะต้องลงมือปฏิบัติกับคนไข้จริง และทำหน้าที่ให้ได้เหมือนหมอทุกอย่าง แต่จะไม่สามารถสั่งการเองได้โดยตรง จะต้องอยู่ในความควบคุมของอาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์ใช้ทุนอย่างเข้มงวด
Resident หรือย่อว่า เด๊นท์ = แพทย์ที่กำลังเรียนต่อเฉพาะทาง (แพทย์ประจำบ้าน)
การที่จะเป็น Resident จะต้องผ่านการเรียน “แพทยศาสตร์บัณฑิต” ในหลักสูตรการเรียน 6 ปี เมื่อเรียนจบแล้วจะต้องไปเป็น “แพทย์เพิ่มพูนทักษะ หรือ Internship” หนึ่งปี และ “แพทย์ใช้ทุน” อีกสองปี หลังจากนั้น เมื่อหมอมีความสนใจในสาขาเฉพาะทางก็สามารถเลือกสมัครเรียนต่อเฉพาะทางได้ คือ “แพทย์ประจำบ้าน หรือ Resident” นั่นเอง ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของอาจารย์แพทย์แล้ว Resident ยังต้องคอยเป็นที่ปรึกษาและรับผิดชอบดูแล เหล่านักศึกษาแพทย์อีกด้วย
PTSD (Post-traumatic stress disorder) = ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง
เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวล เป็นความผิดปกติทางจิตใจภายหลังประสบกับเหตุการณ์รุนแรง
E-Learning = การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิก
Arrest = ภาวะหัวใจหยุดเต้น
เป็นภาวะซึ่งหัวใจทำงานผิดปกติ จนกระทั่งไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นโดยทันที ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะสมองทำให้ผู้ป่วยมีอาการหมดสติ ซึ่งหากพบผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว ควรรีบทำการกดหน้าอกช่วยฟื้นคืนชีพทันที
CPR (CARDIO-PULMONARY RESUSCITATION) = การช่วยฟื้นคืนชีพ โดยการปั๊มหัวใจ
Observe = สังเกตการณ์
EMT = พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ สามารถกู้ชีพขั้นต้นและขับรถพยาบาลได้
Tension pneumothorax = ภาวะลมรั่วในปอดฉับพลันจนความดันโลหิตต่ำลง
ET-Tube = ท่อช่วยหายใจ
Trauma = การบาดเจ็บ
Primary Survey = การตรวจประเมินค้นหาภาวะที่คุกคามต่อชีวิต
Case Advance = คนไข้ที่ต้องได้รับการปฏิบัติการกู้ชีพฉุกเฉินขั้นสูง
เคสผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะคุกคามต่อชีวิต ต้องได้รับการดูแลรักษาทันที หรืออย่างเร่งด่วนที่สุด ทีมปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงต้องไปถึงผู้ป่วยภายใน 8 นาทีหลังเกิดเหตุ โดยใช้สัญญาณแสงวับวาบและเสียงไซเรน
Case Basic = คนไข้ที่ต้องได้รับการปฏิบัติการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน
เคสผู้ป่วยที่ประสบภาวะที่ต้องได้รับการช่วยเหลือโดยเร็ว แต่ยังสามารถรอได้ ทีมปฏิบัติการณ์แพทย์ขั้นต้นควรไปถึงผู้ป่วยภายใน 15 นาที หลังเกิดเหตุ โดยใช้สัญญาณแสงวับวาบและเสียงไซเรน
Dyspepsia = โรคกระเพาะอาหาร
ภาวะนี้จะมีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่สันนิษฐานว่าน่าจะมีสาเหตุจากความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น จะมีอาการอึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ บริเวณลิ้นปี่หรือเหนือสะดือ หากมีอาการควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป
Ruptured Abdominal Aortic Aneurysm = ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องแตก
อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง พบว่าส่วนมากคนไข้จะไม่มีอาการ แต่มักมาพบแพทย์ด้วยเรื่องคลำเจอก้อนเต้นได้ในช่องท้อง ในผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง หรือปวดท้องร้าวไปถึงหลังร่วมด้วย กรณีนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าหลอดเลือดนี้กำลังจะแตก หากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้หลอดเลือดแตกและเสียชีวิตในที่สุด
Discharge = อนุญาตให้คนไข้กลับบ้าน
Round Ward = ตรวจคนไข้ที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือห้องฉุกเฉิน แพทย์จะเดินไปที่เตียงผู้ป่วยทุกเตียงเพื่อตรวจและสอบถามอาการของผู้ป่วย พร้อมทั้งสั่งการรักษาตามอาการที่เปลี่ยนแปลง หรือสั่งให้กลับบ้านหากอาการทุเลาแล้ว
Admit = การรักษาแบบผู้ป่วยใน ต้องนอนค้างในโรงพยาบาล
ขอบคุณข้อมูลจาก : ซีรี่ย์ My Ambulance รักฉุดใจนายฉุกเฉิน และ Facebook : Nadao Series