สวัสดีครับทุกคน วันนี้พี่แบงค์จะมาพูดถึงการทำข้อสอบ paired passage ครับ แต่ก่อนอื่น สำหรับคนที่ไม่รู้จักข้อสอบ SAT มาก่อน พี่จะพูดถึง เสนอครับ SAT Eng หลักๆเลยจะแบ่งเป็น 2 ส่วนครับ

- Reading (400 คะแนน, 52 ข้อ, 5 บทความ) การทดสอบการอ่านของ SAT มีความน่าสนใจ จุดเด่น คือ การอ่านแบบ Evidence-based กล่าวคือ จะมีการคัดประโยคจากในบทความเพื่อมาสนับสนุนใจความ ในส่วนแรกข้อสอบอาจถามเชิงประเด็น ข้อถัดไปอาจจะถามหลักฐานจากบทความ (Command of Evidence) จุดน่าสนใจอีกอย่าง คือ ข้อสอบที่ถามความรู้ด้านคำศัพท์ จะสังเกตได้ว่ามีลักษณะของ high frequency มากขึ้น ว่าง่ายๆคือคำที่พบเจอบ่อยๆ (ในส่วนของรูปแบบเก่า ถามศัพท์จนพี่นึกว่าไม่ใช่ภาษาอังกฤษ 555) แต่ความสนุก คือ บริบทครับ ความหมายในตัวเลือกจะใกล้เคียงกันไปหมด สิ่งที่เราต้องพิจารณา คือ บริบทแวดล้อมหรือ (Words in Context)
- Writing and Language Test (400 คะแนน, 44 ข้อ, 4 บทความ) ถึงแม้ข้อสอบจะอยู่ในรูปแบบของบทควา ข้อสอบพาร์ทนี้จะถามความรู้ทางด้านไวยากรณ์รวมไปถึงความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายวรรคตอน (punctuation) แอบกระซิบว่าออกบ่อยจริงๆครับ มากไปกว่านั้น ข้อสอบจะถามถึงความรู้ด้านการเขียนย่อหน้า (paragraph writing) การเพิ่มหรือตัดข้อมูลหรือการจัดเรียงข้อมูล ฟังดูเหมือนยากใช่ไหมครับ จริงๆ มันพอจะมีหลักการดูอยู่บ้างไว้จะมาเล่าให้ฟังนะครับ
แต่วันนี้พี่แบงค์จะมาแชร์เทคนิคการทำข้อสอบ SAT Reading ประเภท paired passage แน่นอนว่า เมื่อเราเจอข้อสอบประเภทนี้ก็จะแอบกลัว เพราะโดยปกติแล้วข้อสอบประเภท Reading มักจะถามผู้สอบเฉพาะเจาะจงแค่ประเด็นในบทความเดียวเท่านั้น พี่คาดเดาว่า ข้อสอบอาจไม่ได้ “ยาก” เท่าที่เราคิดกันไป แท้จริงแล้วเราอาจไม่ “คุ้นชิน” ต่างหาก เมื่อเรารู้แล้วว่า ความคุ้นชินมีผลต่อการทำข้อสอบ ดังนั้น พี่แบงค์จะพาทุกคนมารู้จักข้อสอบ paired passage และเทคนิคปังๆในการทำข้อสอบประเภทนี้กันครับ
Paired passage คืออะไร? ทำไมต้อง paired?

ข้อสอบประเภท paired passage ว่าง่ายๆ คือ บทความ 2 เรื่องที่อยู่ในหัวข้อเดียวกัน โดยสิ่งที่จะแตกต่างกัน คือ แง่มุม ของแต่ละบทความยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ บทความ A อาจพูดถึงกำไรที่ได้จากการตัดแต่งพันธุ์กาแฟ บทความ B อาจพูดถึงการตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตในผลไม้ เห็นได้ว่าทั้งสอง passage พูดถึงเรื่องเดียวกันคือ การตัดแต่งพันธุกรรม ในแง่มุมที่เหมือนกัน คือ ผลประโยชน์ แน่นอนว่า นอกจากข้อสอบจะถามเกี่ยวกับแต่ละบทความแล้ว ข้อสอบจะถามเกี่ยวความเชื่องโยงของ 2 บทความอีกด้วย ดังนั้น พี่มีวิธีมานำเสนอครับ เราอาศัย 2 เครื่องหมายนี้ครับ = และ ≠
- = แสดงว่า บทความทั้งสองสนับสนุนกัน
- ≠ แสดงว่า บทความทั้งสองขัดแย้งกัน
เมื่อเราจับได้ทางได้แล้วว่าทั้งสองบทความเชื่อมโยงกันอย่างไร หาพื้นที่จดไว้ด้วยนะครับ มาถึงตรงนี้ หลายๆคนคงสงสัยว่าเราควรเริ่มทำอะไรก่อน ควรจะรีบหาความเชื่อมโยงเลยหรือเปล่า คำตอบอยู่ในส่วนถัดไปเลยครับ
เทคนิคพิชิต Paired Passage
ก่อนอื่นพี่อยากให้ทุกคนเข้าใจประเภทของคำถามที่จะพบเจอก่อนนะครับ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ
- คำถามที่เกี่ยวกับบทความใดบทความหนึ่งโดยเฉพาะ
- คำถามที่เกี่ยวกับทั้งสองบทความ
สิ่งที่ควรทำก่อน คือ ประเภทแรกเลยครับ ส่วนใหญ่แล้วโจทย์แต่ละข้อจะระบุชัดเจนว่าถามเกี่ยวกับบทความใด เมื่อเราทำโจทย์ที่ถามเฉพาะบทความ A และบทความ B เสร็จแล้วเราก็จะได้ความเชื่อมโยงของทั้งสองบทความ
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำถามประเภทที่สอง คือ คำถามเจาะรายละเอียดของทั้งสองบทความ ที่พบเจอค่อนข้างบ่อย น่าจะเป็นผู้เขียนบทความ A จะมีความเห็นอย่างไรกับคำพูดในบทความ B ดังนั้นการรู้ความเชื่อมโยงของทั้งสองบทความจะช่วยตัด choice ได้เป็นอย่างดี

โดยปกติแล้วแนวการสอนที่ InterPass จะมีหลักให้เข้าใจง่ายๆ เป็น step ดังนี้นะครับ
STEP 1: ดูโจทย์ว่าถามเกี่ยวกับ Passage ไหน
STEP 2: ตอบคำถามที่เกี่ยวกับ Passage นั้นๆก่อน
STEP 3: หาความเชื่อมโยงของ Passage ทั้งสอง
โดยสรุปแล้ว การทำบทความประเภทนี้อาจไม่ยากอย่างที่แล้วเราคิด ข้อดีอีกอย่างตัว คือ ตัวบทความไม่ยาวมากอาจช่วยให้เราทำเร็วขึ้น แท้จริงแล้วการที่ผู้ออกข้อสอบแนวนี้สะท้อนการอ่านในระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนอาจจะต้องเปรียเทียบแนวคิดจากการหาข้อมูลหลายๆแหล่ง ดังนั้นก็ถือเป็นการดีที่เราได้ฝึกทำนะครับ ขอให้ทุกคนสู้ๆ นะครับ
น้องๆ คนไหนอยากสอบถามวางแผนการเรียน หรืออยากเรียนคอร์ส SAT Eng สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านล่างนี้เลยนะครับ 🙂

—————————————————
InterPass ที่ 1 ด้านอินเตอร์ ✈️
สอบถามเพิ่มเติม Inbox : m.me/interpassinstitute
Tel:089-9964256, 089-9923965
Line : @InterPass