สวัสดีค่ะน้องๆ วันนี้พี่นำข้อมูลดีๆ ที่น้องๆ ควรทราบเก็บตกมาให้จากงาน Event Online: Portfolio & Research ทำวิจัยยังไงให้ถูกใจกรรมการค่ะ รับรองว่า อ่านข้อมูลนี้แล้ว สามารถนำไปปรับใช้ ยื่นติดแพทย์-ทันตะรอบ 1 ได้แน่นอนค่า ถ้าอยากรู้ว่าต้องเตรียมอะไร หรือยื่นอะไรบ้าง? ไปอ่านพร้อมกันเลยจ้า
การยื่นหมอรอบ 1 ประกอบไปด้วย 4 ส่วน
- GPAX (เกรดเฉลี่ยโรงเรียน)
- IELTS + BMAT หรือ SAT Subject Test (การสอบสนามต่างๆ) – การทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษและองค์ความรู้สำหรับการเรียนแพทย์
- Portfolio หรือ Research – บางมหาวิทยาลัยอาจจะกำหนดวิจัยที่ต้องการ แต่วิธีการเขียน แนวการเขียนจะอธิบายในส่วนถัดไป
- Interview – การสอบสัมภาษณ์เป็นการระบุความเป็นตัวตนก่อนเรา
ซึ่งการสอบในปีนี้ 2021 เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ปีนี้ ยกเลิกสอบรอบ SEP เหลือรอบเดียวคือรอบ NOV วันที่ 3 พฤศจิกายน เท่านั้น!! เพราะฉะนั้น เตรียมตัวให้ดีนะคะน้องๆ โอกาสมีรอบเดียว
แจก Requirement หมอภาคไทย Click ที่นี่
สิ่งที่ควรรู้ในการทำ Portfolio หมอรอบ 1
- ยื่นได้ไม่จำกัด – จะยื่นกี่ทีก็ได้ ไม่มีกำหนด ซึ่งบางมหาวิทยาลัยอาจจะกำหนดการยื่นคะแนนคณะไม่เกินจำนวนที่กำหนด
- การสมัคร – พยายามติดตามข่าวสารในการเปิดรับสมัคร ทั้งเกณฑ์คะแนน และจำนวนการรับ
- การยื่น Port ให้แต่ละมหาวิทยาลัย – เมื่อเราสมัครผ่านทางมหาวิทยาลัยแล้ว จะมีการส่ง Portfolio ทั้งแบบรูปเล่ม ส่งทางไปรษณีย์ หรือ อัพโหลดไฟล์ผ่านทางเว็บไซต์ที่กำหนด โดยวันสัมภาษณ์ให้นำติดไปด้วย 2 เล่ม เผื่อมีเหตุฉุกเฉินกรรมการขอเก็บแฟ้มสะสมผลงาน
- การสอบสัมภาษณ์ – ในกรณีที่น้องๆ ส่งสมัครไปหลายๆ ที่แล้ววันสัมภาษณ์ซ้ำกัน ให้เลือกที่น้องมั่นใจที่สุด แล้วลุยเดี่ยวไปสัมภาษณ์เลยค่ะ
- กดยืนยันสิทธิ์ – วันประกาศจะมีการแจ้งให้กดยืนยันสิทธิ์ เช็คและอ่านรายละเอียดให้เรียบร้อยนะคะ ไม่งั้นทางคณะจะถือว่าเราสละสิทธิ์
- กรณีสละสิทธิ์ – น้องๆ ต้องกดสละสิทธิ์ในรอบแรกก่อน ถึงสามารถสมัคร TCAS หมอรอบต่อไปได้
สิ่งที่กำหนดของ Portfolio แต่ละมหาวิทยาลัย
- บางมหาลัยฯ มีการกำหนดจำนวนหน้า ไม่ควรเขียน Portfolio ยาวจนเกินไป
- รูปแบบการเขียน สามารถเขียนได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยทั้ง Font และ Size ตัวอักษรควรเป็นแบบทางการ และเป็นระเบียบ หรือใช้ตามที่ทางคณะกำหนด
- เนื้อหาที่ควรใส่ ควรมีทั้งกิจกรรมที่แสดงตัวตน ความรู้ความสามารถ ทั้งทางด้านวิชาการและด้านจิตอาสา รวมถึงผลงานรางวัลต่างๆ ที่ได้รับในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
- แนะนำกิจกรรมที่น้องๆ ควรเข้าร่วมเพื่อนำมาใส่ Portfolio
- Open House คณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ
- ฝึกงานหรืออาสาสมัครในโรงพยาบาล/คลินิก
- เรียนคอร์สออนไลน์ จากมหาวิทยาลัยระดับโลก
- ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ เช่น Company visit
- แนะนำกิจกรรมที่น้องๆ ควรเข้าร่วมเพื่อนำมาใส่ Portfolio
- การส่ง Portfolio ทางคณะอาจจะกำหนดรูปแบบไฟล์มาเป็น .pdf หรือให้ส่งรูปเล่ม น้องๆ ควรอ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน
- Personal Statement/Recommendation letter หากทางคณะกำหนด น้องๆ ควรใส่ลงไปด้วย ถ้าเป็น Personal Statement คือให้เขียนเกี่ยวกับเหตุผลที่เราสมัครโครงการนี้ แรงจูงใจในการเรียนแพทย์ รวมถึงจุดมุ่งหมายในชีวิต ส่วน Recommendation letter จะเป็นจดหมายที่ให้อาจารย์เขียนแนะนำตัวเรา
หลักในการเขียนงานวิจัย
- หัวข้อที่ชัดเจน งานวิจัยด้านอะไร สาขาไหน และประเด็นที่สนใจ
- วิธีการ ขั้นตอนในการทำวิจัย
- ทฤษฎี แนวคิด หรืองานวิจัยที่มีคนทำมาแล้ว
- เนื้อหาควรมีอย่างน้อย 1 หน้าแต่ไม่ควรเกิน 5 หน้ากระดาษ A4
Proposal VS Research ต่างกันอย่างไร?
Proposal และ Research ถึงจะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ทั้งสองสิ่งนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะ Proposal เป็นเพียงโครงร่างงานวิจัย หรือข้อเสนอโครงการวิจัยเท่านั้น ยังไม่ต้องมีผลลัพธ์ของงานวิจัย หรือลงมือทำจริง ส่วน Research จะมีความครอบคลุมมากกว่า คือน้องๆ จะต้องลงมือพิสูจน์จริง และได้ผลลัพธ์มาจริงๆ ระยะเวลาที่ใช้ก็จะนานกว่าโครงร่างปกติ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน พี่มีขั้นตอนกระบวนการเขียนของ Proposal และ Research มาให้เทียบกันค่ะ
ขั้นตอนกระบวนการเขียน Proposal
- ชื่อเรื่อง (Title)
- บทคัดย่อ (Abstract)
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background and importance of the problem)
- วัตถุประสงค์ (Objective)
- สมมติฐานของงานวิจัย (Research hypothesis)
- ขอบเขตของงานวิจัย (Research scope)
- คำจำกัดความ (Definition)
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Expected benefits)
- เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Relevant documents and researches)
- วิธีดำเนินการวิจัย (Research method)
- เอกสารอ้างอิง (Reference document)
ขั้นตอนกระบวนการเขียน Research
- เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย (Selecting a topic of Research)
- ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (Review Literature and Related Research)
- ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย(Formulating Research Problem)
- สร้างสมมติฐาน (Formulating Research Hypothesis)
- พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล (Source of Data)
- สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย (Formulating Research Instrument)
- การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)
- การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (Scrutinizing Data and Analysis of Data)
- การตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป (Interpretation of Data)
- การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์ (Research Report and Publishing)
เอาละค่ะมาถึงตรงนี้น้องๆ ก็คงจะได้พอได้ข้อมูลคร่าวๆ ในการเตรียมตัวเข้าหมอรอบ 1 แล้วนะคะ แต่ถ้าใครสนใจอยากเก็บเนื้อหาเพิ่มเติม เตรียมคะแนนสอบทั้ง IELTS และ BMAT พร้อมสำหรับการสอบเข้าหมอ สามารถดูคอร์ส Pack ติดชัวร์หมอรอบ 1 ได้ที่นี่เลยค่ะ
สำหรับน้องๆ คนไหนที่ยังไม่แน่ใจหรืออยากได้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมสามารถติดต่อขอรับการปรึกษาสามารถเข้ามาสอบถามหรือวางแผนการเรียนไปพร้อมกับพี่ๆ InterPassได้ฟรี! ทั้ง 3 ช่องทางทั้งที่ InterPass สาขาสยามสแควร์ ซ.10 หรือ Line : @InterPass, Tel : 089-9964256, 089-9923965 สมัครได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด 09:00 – 19:00 น.
________________________________________
InterPass ที่ 1 ด้านอินเตอร์ ✈️
สอบถามคอร์สเรียน Inbox: m.me/interpassinstitute
Line: @InterPass
Tel: 089-9964256, 089-9923965